แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานคลังสินค้าและ ศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทดีเอชแอลซัพพลายเชน ประเทศไทย จำกัด ไซด์ซัมซุง

สุปรีดา ปันติ

Abstract


การศึกษาเรื่อง การศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ของบริษัทดีเอชแอลซัพพลายเชน ประเทศไทยจำกัด ไซด์ซัมซุง  ตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 100 ชุด เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานแบบ t-test, (One-Way ANOVA) และ Regression จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ ดังนี้

ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุอยู่ระหว่าง 20-30 ปี โดยมีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาจบมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001-20,000 บาท และมีประสบการณ์ในการทำงาน 1-5 ปี จำนวน 67 คน ภาพรวมเฉลี่ยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ของบริษัทดีเอชแอลซัพพลายเชน ประเทศไทยจำกัด ไซด์ซัมซุง มีระดับความพึงพอใจมากทั้งหมด 9 รายการและมีความพึงพอใจระดับปานกลาง 7 รายการ สำหรับในภาพรวมเฉลี่ยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ของบริษัทดีเอชแอลซัพพลายเชน ประเทศไทยจำกัด ไซด์ซัมซุง  มาก 9 รายการ


 


Keywords


แรงจูงใจ

Full Text:

Untitled

References


กลยา ยศคำลือ. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ศูนย์วิทยบริการ,มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

กุสุมาจรูญสุขพิมล. (2552). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการฝ่ายขายและบริการลูกค้านครหลวงที่ 4.1 บริษัททีโอทีจำกัด (มหาชน). สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธนบุรี.

เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2550). การบริหารทัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ต.

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2528). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรจน์ ประสานมิตร.

จุฑารัตน์ นาควะรี. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม. สำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ.

ชฎานิศ นามวงศ์. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี.

ธงชัย สันติวงศ์. (2543). องค์การและการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

บรรเจิด บุญเสริมส่ง. (2550). การรับรู้ลักษณะงานและแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทยเมอร์รี่ จำกัด.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). พฤติกรรมมนุษย์ในองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วราภรณ์ คำเพชรดี. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของงบุคลากรสำนักงานสรรพกร พื้นที่อุบลราชธานี. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต การจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศิวพร แก้วคุ้ม. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) ที่สังกัดสำนักงานธุรกิจบริการสาขาเขต 6 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ศิวาพร เกิดวาจา. (2550). แรงจูงใจและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีส่วนราชการ เขตจตุจักร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สุชาดา สุขบำรุงศิลป์. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวิศวกรรมแหลมฉบังจังหวัดชลบุรี.งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพร พรหมจรรย์. (2540). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง