แนวทางในการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดชลบุรี
Abstract
เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา วิธีดำเนินการ ข้อจำกัดและแนวทางในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดชลบุรี รวมการศึกษาวิเคราะห์ และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมือง และแรงงานต่างด้าวในจังหวัดชลบุรีอย่างเป็นรูปธรรม โดยปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมจากแนวทางการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Interview) และประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) กับกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะลึก (Purposive Sampling) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาสรุปผลวิเคราะห์ประกอบกับการศึกษาเอกสาร และผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัญหา วิธีดำเนินการ ข้อจำกัดและแนวทางในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดชลบุรี จากการศึกษาพบว่า ความสำคัญในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทุกหน่วยงานจะต้องบูรณาการความร่วมมือด้วยกัน และมีความสำคัญเท่า ๆ กัน การกำหนดนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายไร้ฝีมือของไทย ได้อาศัยแนวคิดและหลักการด้านความมั่นคงแห่งชาติและแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจทุนเสรีนิยมเป็นหลัก โดยแนวคิดทางด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานในส่วนกระบวนการในกำหนดนโยบายที่สำคัญคือ นักการเมือง ข้าราชการระดับสูงและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยที่นำมาใช้ในการกำหนดนโยบายที่สำคัญคือ ความมั่นคงของชาติและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ผู้ลักลอบเข้าเมือง และแรงงานต่างด้าวในจังหวัดชลบุรีอย่างเป็นรูปธรรม จากแนวทางการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน พบว่า แนวโน้มของการลักลอบเข้ามาของแรงงานต่างด้าวยังไม่ลดลง นโยบายและมาตรการในการแก้ไขปัญหายังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังขาดความเข้มงวดในการบังคับกฎหมาย หากพิจารณาอีกด้านหนึ่ง แรงงานข้ามชาติยังได้ช่วยเอื้ออำนวยให้การดำเนินกิจการธุรกิจ อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถใช้ทดแทนแรงงานไทยในสาขาที่ขาดแคลนหรือในกิจการที่แรงงานไทยไม่นิยมทำ เช่น กรรมกร งานประมง เป็นต้นKeywords
Full Text:
UntitledReferences
การจัดหางาน, กรม. (2551). พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว. กรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน.
ขัตติยะ แพนเดช. (2546). กฎหมายและระเบียบว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ชาตรี รักข์กฤตยา. (2540). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานกับแรงงานต่างชาติที่มิชอบด้วยกฎหมาย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวิไล ชยางกูร. (2555). แรงงานข้ามชาติกับความต้องการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุรีย์พร พันพึ่ง. (2548). รายงานสำรวจข้อมูลพื้นฐาน รอบ 5. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
ธันยพร พันธุ์อารย์. (2538). การอพยพย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
Migrant Working Group (MWG). (2550). ภาพรวมของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย. [ออนไลน์]. จาก http://shield.restorebrand.biz/index.php.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง