ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง

วิทูลย์ แก้วสุวรรณ

Abstract


          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบของการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลุ่มแกนนำชุมชนที่เป็นทางการ ตัวแทนจากกลุ่มกิจกรรมในแต่ละชุมชน กลุ่มตัวอย่างตัวแทนครัวเรือน ในชุมชน และกลุ่มตัวอย่างตัวแทนครัวเรือนในชุมชน ที่อาศัยอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ซึ่งคัดเลือกมาเพียง 3 จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี จังหวัดอยุธยา และจังหวัดลพบุรี มีจำนวน 1,088 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  และเชิงปริมาณ ประชากรคือ ประชาชนในชุมชนได้กลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 292 ครัวเรือน ผู้วิจัยกำหนดเก็บข้อมูลครอบครัวละ 2 คน กลุ่มตัวอย่าง 548 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ณ ความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 

1.   ปัจจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย 8 ชุมชน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี รวมทั้ง 5 ด้านในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง              

2.   ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง พบว่า กลุ่มของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่างภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง

3.   ภาพรวมแนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่างของประเทศที่เหมาะสมหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาหรือแนวคิดที่เป็นทางเลือกอย่างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยิ่งจำเป็นต้องอาศัยกาเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างเป็นระบบและพินิจพิเคราะห์ มิเช่นนั้นกระบวนการการพัฒนาก็จะซ้ำรอยเดิม ก้าวเหยียบย้ำอยู่บนความไม่รู้และเสียหายของทั้งผู้กำหนด ผู้นำไปปฏิบัติ และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 


Keywords


การพัฒนา, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ปัจจัย

Full Text:

Untitled

References


กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). มติชน. 20 เมษายน 2550, หน้า 10.

พิชิต พิทักษ์สมบัติ. (2548). การสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง:ทฤษฎี และปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เสนาธรรม.

วรุณี เชาว์สุขุม. (2554). ศึกษาความเข้มแข็งของชุมชนในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 5(3), 64-74 .

วาสนา ศรีนวลใย. (2551). การดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านนาก หมู่ 5 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ยุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สกาวเดือน โพธิ์พันธ์. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการปฏิบัติตามวิธีการทำเกษตรไร้สารพิษของเกษตรกรทำนา ในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สกาวเดือน โพธิ์พันธ์. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิถีชาวนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดปทุมธานี และพระนครศรีอยุทธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สอางค์ วงศ์วรรธนะโชติ. (2550). บทบาทของนักพัฒนาชุมชน ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2540). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, 21 เซ็นจูรี่.

ไสว เจริญศรี. (2551). แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้านบ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชรจังหวัดกาแพงเพชร. ปริญญามหาบัณฑิต ยุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อำพล เสนาณรงค์. (2542). “การเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ”. สมุทรปราการ: ภัคธรรศ.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง