ปัญหาเกี่ยวกับลูกหนี้ที่จะได้รับการปลดจากล้มละลาย โดยผลของกฎหมาย

อรฉัตร บุญมานุช

Abstract


       วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับ ปัญหาเกี่ยวลูกหนี้ที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสแก่ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลล้มละลายได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 จะได้เพิ่มหลักเกณฑ์ในเรื่องของการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมายไว้ใน มาตรา 81/1 - 81/4 แล้วก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ยังก่อให้เกิดปัญหา และข้อจำกัดในการใช้อยู่มาก เนื่องจากบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่นั้น ไม่มีการกำหนดคุณสมบัติของลูกหนี้ ไม่มีวิธีการตรวจสอบลูกหนี้ เพื่อคัดครองให้ลูกหนี้ที่เหมาะสมเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์จากการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย บทบัญญัติดังกล่าวกลับให้สิทธิแก่ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาทุกคนที่จะได้รับโอกาสปลดจากล้มละลาย เพียงแต่จะมีความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของระยะเวลาตามแต่กรณี ผลที่เกิดขึ้นทำให้ลูกหนี้ที่สุจริตแต่โชคร้ายกับลูกหนี้ที่มีเจตนาทุจริตต่างก็ได้รับประโยชน์จากการปลดจากล้มละลายทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาในการตีความในประเด็นเรื่องของการยกเลิกการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมายว่าสามารถทำได้หรือไม่

       จากการที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษาการปลดจากล้มละลายตามกฎหมายต่างประเทศ พบว่ากฎหมายล้มละลายของต่างประเทศล้วนแล้วแต่วางหลักเกณฑ์ในเรื่องของการปลดจากล้มละลายไว้อย่างชัดเจน มีการกำหนดคุณสมบัติของลูกหนี้ที่จะได้รับการปลดจากล้มละลาย กำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ และในบางประเทศมีการกำหนดโทษทางอาญา ทำให้สามารถคัดกรองลูกหนี้ในการปลดจากล้มละลาย ให้ลูกหนี้ที่สุจริตอย่างแท้จริงเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์จากบทบัญญัตินี้

        ทั้งนี้หากบทบัญญัติในเรื่องของการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมายของไทยมีความชัดเจน มีการเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของลูกหนี้ที่จะได้รับการปลดจากล้มละลาย ตลอดจนกระทั่งระบบการตรวจสอบลูกหนี้ การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายไทยในเรื่องของการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมายก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดปัญหาในการตีความ และสามารถบังคับใช้ได้สมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ในส่วนของการปลดจากล้มละลายดังต่อไปนี้ แก้ไขหลักเกณฑ์คุณสมบัติของลูกหนี้ที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายโดยกำหนดให้ลูกหนี้ต้องไม่เคยตกเป็นบุคคลล้มละลายมาก่อนเป็นระยะเวลา 10 ปี กำหนดให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำขอปลดตนเองจากการล้มละลายได้เมื่อลูกหนี้ล้มละลายมาแล้ว 2 ปี และชำระหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50% พร้อมทั้งให้สิทธิแก่ เจ้าหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สามารถคัดค้านการปลดจากล้มละลายของลูกหนี้ได้ กำหนดให้ยกเลิกการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมายได้ภายในระยะเวลา 1 ปี 


Keywords


การปลดจากล้มละลาย

Full Text:

Untitled

References


กมล กมลตระกูล. (2550). ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชั่น. (ออนไลน์). จาก http//www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q3.

ทวี กสิยพงศ์. (2528). คำอธิบายพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธัญญานุช ตันติกุล. (2550). “การบังคับคดีล้มละลายของลูกหนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา”. วารสารกรมบังคับคดี.ฉบับประจำเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน.

นันทรัตน์ เดชะมา. (2554). เอกสารคำบรรยายวิชากฎหมายล้มละลายเปรียบเทียบ.

นันทวุธ อุตสาหตัน. (2552). บทบาทของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินในคดีล้มละลาย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นายปรีชา พานิชวงศ์. (2540). คำอธิบายกฎหมายล้มละลาย. กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

ปิยภัฎ บุญเส็ง. (2555). ปัญหาของเจ้าหนี้ภาษีอากรตามกฎหมายล้มละลาย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547.

วิชา มหาคุณ. (2553). คำอธิบายกฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

______. (2553). เอกสารประกอบคำบรรยาย LA 729 กฎหมายล้มละลายเปรียบเทียบ (Comparative Bankruptcy Law). กรุงเทพฯ: ภาควิชากฎหมายเพื่อการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สรินยา ลิ่มวณิชสินธุ์. (2549). การปลดจากล้มละลายของบุคคลธรรมดา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธิรา ศรีละจักร. (2556). ปัญหาการล้มละลายของบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจการค้าพาณิชย์.

สุธีร์ ศุภนิตย์. (2556). หลักกฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

หลวงสารกิจปรีชา. (2507). คำอธิบายกฎหมายลักษณะล้มละลาย.

หลวงสารนัยประสาสน์. (2512). หลักปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลายที่เกี่ยวข้องกับศาล.

อดิศร เศรษฐพิพัฒกุล. (2554). ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ... ศึกษาเฉพาะกรณีการปลดจากการชำระกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

อมรรัตน์ วงษ์ประสิทธิ์. (2553). ปัญหาในการบังคับใช้บทบัญญัติว่าด้วยการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เอื้อน ขุนแก้ว. (2554). คู่มือการศึกษากฎหมายล้มละลาย (พิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง.

“Alternatives to Bankruptcy”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ มีนาคม 25, 2557, จาก http://www.ipto.gov.sg/content/ipto/en/bankruptcy-and-debt-repayment-scheme/information-for-bankrupts1.html.

“Raising the financial limit for Discharge by the Official Assignee”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 22, 2012, จาก www.gov.sg/minlaw/ipto.html.

Bankruptcy in Singapore. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ มีนาคม 20, 2557, จาก http://singaporelegaladvice.com/bankruptcy-in-singapore.

Catherine Tay. (1984). Bankruptcy Law and Practice. “Official Assignee”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ May 15, 2015, จาก www.gov.sg/government/web/content/govsg/classic.

Goh Tian Wah. (1986). Bankrupcy and Winding Up. Singapore Rank Book.

Industrial Acceptance Corp. V. Lalonde. (1952). 2.S.C.R 109. (ออนไลน์). จาก http://scc.lexum.org/decisia-scc-csc/scc-csc/scc-csc/en/item/2731/index.do.

Introduction to German Insolvency Law. (Online). จาก www.justiz.nrw.de/WebPortal.../ german_insolvency.

Jacob S. Ziegel. “INTRODUCTION TO THE SYMPOSIUM ON CONSUMER BANKRUPTCIES”. (ออนไลน์). จาก http://www.ohlj.ca/archive/articles/37_12_ziegel_introduction.pdf.

Jennifer A Pasqquarella. Case Note: in this courner, we have the Bankruptcy Code’s Discharge Provisions and in this corner. CERCLA, A Strict Liability Statute: In Re Reading Company. Vil Environmental Law Journal.

Tabb, C.J. (1990). “The Scope of the Fresh Start in Bankruptcy : Collateral Conversions and the Dischargeability Debate”. The George Washington Law Review. 59(November), 1990.

Victor Yeo & Pauline Gan. (2006). Insolovency Law in East Asia.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง