การรับรู้และการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ทางการเมืองการปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 587 คน เป็นชาย 190 คน หญิง 397 คน ที่ได้มาด้วยวิธีสุ่มหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) จาก 12 โรงเรียน ใน 6 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง จำนวน 24 ข้อคำถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานเพื่อหาค่าความถี่และค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.70 มีประสบการณ์การใช้สิทธิ์เลือกตั้งในระดับต่าง ๆ โดยนักเรียนหญิงเคยใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากกว่านักเรียนชาย การตัดสินใจเลือกตั้งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนักเรียนชายและหญิงมีค่าร้อยละไม่แตกต่างกันมากนัก (ร้อยละ 42.64 และ 43.58) โดยนักเรียนส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามนโยบายของพรรคที่ประกาศออกมาให้ทราบอย่างเป็นทางการ
2. กลุ่มตัวอย่างชายและหญิง มีอายุเฉลี่ย 17.81 ปี ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองถูกต้องตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีค่าร้อยละของคำตอบไม่แตกต่างกันมากนักและไปในทิศทางเดียวกันในทุกด้าน ซึ่งอาจเป็นผลจากการอบรมบ่มเพาะจากโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา และการรับรู้ข่าวสารข้อมูลที่มีค่าร้อยละสูงมาก โดยที่นักเรียนชายร้อยละ 88.95 และนักเรียนหญิงร้อยละ 92.44 ตอบว่า ได้รับข่าวสารข้อมูลด้านการเมืองการปกครองจากสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ มากที่สุด รองลงมาคือจากผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และกลุ่มเพื่อน
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
ชูศักดิ์ เพรสคอทท์ และสินี กิตติชนม์วรกุล. (2555). การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและอิทธิพลของสื่อต่อแนวคิดทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสงขลา รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2557). พลเมืองศึกษา (Civic Education): พัฒนาการเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่ “คน”. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 6, 2557, จาก http://social.obec.go.th/node/64, สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
รุจิรวัทน์ ลำตาล. (2558). “บทบาทสถาบันทางสังคมในการให้ความรู้ทางการเมืองการปกครองแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก”. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 3(2), (พฤศจิกายน 2557–เมษายน 2558).
วิเชียร ตันศิริมงคล และรุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2557). สภาพความเป็นพลเมืองของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา: ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมือง. รายงานวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 10, 2557, จาก www.pol.cmu.ac.th/proceedings.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2551). ปัจจัยภูมิหลัง วัฒนธรรมทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำเยาวชนไทย. รายงานการวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). เอกสารประกอบการอบรมวิทยากรแกนนำในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง รวมสี่รุ่น. (อัดสำเนา).
Dostie-Goulet, Eugenie. (2009). “Social Networks and the Development of Political Interest”. Journal of Youth Studies. 12(4), 405-421.
Jarvis, Sharon E. et al. (2005). “The Political Participation of College Students, Working Students and Working Youth”. CIRCLE WORKING PAPER. 37, August 2005, The University of Texas at Austin.
Lewis, Chelsea L. South Mississippi. (2014). High School Seniors’ Perceptions of Civic Duties and Responsibilities. Retrieved June 25, 2014, from http://aquila.usm.edu/honors_theses.
Pandian, Sivamurugan. (2014). “University Students and Voting Behavior in General Elections: Perceptions on Malaysian Political Parties Leadership”. Journal of Social Science. 10(18).
Saha, Lawrence j., et al. (2014). “Youth Electoral Study “YES” Report 2: Youth, Political Engagement and Voting”. Retrieved June 26, 2014, from Lawrence.Saha@anu.edu.au.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง