ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ของสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

เสถียรณภัส ศรีวะรมย์

Abstract


       การวิจัยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมที่ถูกเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 119 คน ได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.940 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test (Independent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1.   ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนของสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับน้อยทั้ง 8 ด้าน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก ด้านเงินทุน ด้านแรงงาน ด้านการผลิต ด้านการแปรรูปและการบรรจุหีบห่อ การตลาด ด้านการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน และด้านการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน ตามลำดับ

2.   ผลการเปรียบเทียบสมาชิกวิสาหกิจชุมชนสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม และสถานภาพภายกลุ่มต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบรายด้านพบว่าด้านอื่นไม่แตกต่างกัน


Keywords


ความคิดเห็น, สมาชิกวิสาหกิจชุมชน, การดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

Full Text:

Untitled

References


กฤตติกา แสงโภชน์. (2546). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินการธุรกิจชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงเดือน สมวัฒนศักดิ์. (2548). วิสาหกิจชุมชน. ชัยนาท: กรมส่งเสริมการเกษตร.

พรรณี แพ่งกุล. (2545). ศักยภาพการปฏิบัติของบัณฑิตโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสมุทรปราการ. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

พรทิพย์ ไชยสมศรี. (2550). ผลกระทบของศักยภาพการบริหารจัดการที่มีต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พีรพงษ์ ปราบริปู. (2547). การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานธุรกิจชุมชนกลุ่มตีเหล็กบ้านฝายมูลอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลำแพน จอมเมือง. (2546). ผ้าทอไทลื้อ : เศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย อาคารมหานครยิบซั่ม.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร. (2556). วิสาหกิจชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน. สืบค้นเมื่อ มกราคม 11, 2556, จากhttp://www.maejopoll.mju.ac.th/gallery_show.php? id=MTUwODIyMDI=&type=MTUwNzI1Mjg=〈=

สมิต สัชฌุกร. (2541). “วัฒนธรรมองค์การ”. วารสารเพิ่มผลผลิต. 5(ตุลาคม-พฤศจิกายน 2541), 27-30.

สยามรัฐรายวัน. (2552). วิสาหกิจชุมชน สร้างฐานการพัฒนา. (16)29 มกราคม.

สามารถ แทนวิสุทธิ์. (2548). เปรียบเทียบกระบวนการบริหารและผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โสภารัตน์ จารุสมบัติ และนนท์ นุชหมอน. (2556). เหลียวหลังแลหน้า: 20 ปี หลังริโอ กับเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: พี เอ ลีฟวิ่ง.

––––––––. (2546). รายงานการประเมินผลนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคม. กรุงเทพฯ: พี เอ ลีฟวิ่ง.

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2547). กระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็งการและมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองการรักษาดินแดน.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). เอกสารประกอบการประชุมคณะทำงานกำกับการดำเนินงานสำหรับการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2012 (Rio + 20): ด้านสารัตถะ. ครั้งที่ 1/2554” 20 กันยายน 2554 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ถ่ายสำเนา.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง