รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษา สัปปุริสธรรม 3) เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยสัปปุริสธรรม 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยสัปปุริสธรรม”
การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาและผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 10 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาอธิบายในเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้แก่ 1) ด้านการบริหารงานทั่วไป 2) งานด้านการบริหารวิชาการ 3) งานด้านบริหารงานบุคคล และ 4) งานด้านงบประมาณ
2. สัปปุริสธรรม หมายถึง สัปปุริสธรรม 7 ประการ ได้แก่ 1) ธัญมัญญุตา 2) อัตถัญญุตา 3) อัตตัญญุตา 4) มัตตัญญุตา 5) กาลัญญุตา 6) ปริสัญญุตา และ 7) ปุคคลัญญุตา
3. บูรณาการการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ด้วยสัปปุริสธรรม 7
1) ด้านการบริหารงานทั่วไป บูรณาการด้วยสัปปุริสธรรม 7 ข้อที่ว่าด้วย การรู้จักเหตุ การรู้จักตน การรู้จักชุมชน การรู้จักประมาณ และการรู้จักผล ทำให้มีการทำงานไม่ซ้ำซ้อน มีการวางแผน มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน ผลงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2) ด้านการบริหารวิชาการ บูรณาการด้วยสัปปุริสธรรม 7 ข้อที่ว่าด้วย การรู้จักเหตุ การรู้จักผล และการรู้จักตน ทำให้สามารถวางแผนงานการจัดการเรียนการสอน มีการพัฒนาทักษะทางวิชาการ มีผลให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา
3) ด้านบริหารงานบุคคล บูรณาการด้วย สัปปุริสธรรม 7 ข้อที่ว่าด้วย การรู้จักเหตุ การรู้จักผล การรู้จักตน และการรู้จักบุคคล ทำให้สามารถใช้คนให้ตรงกับงาน และวางแผนในการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานสูงขึ้น
4) ด้านบริหารงานงบประมาณ บูรณาการด้วยสัปปุริสธรรม 7 ข้อที่ว่าด้วย การรู้จักเหตุ การรู้จักผล การรู้จักประมาณ และการรู้จักชุมชน ทำให้มีการวางแผนในการใช้งบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุด
4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้มาจากการวิจัย การบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ด้วยสัปปุริสธรรม 7 แล้วย่อมก่อให้เกิดการศรัทธา มีการพัฒนา และประชาสัมพันธ์ สามารถนำมาสร้างรูปแบบ “BDP” MODEL ได้แก่ B = Belief ศรัทธา D = Development การพัฒนา P = Public relations การประชา สัมพันธ์ คือ การบริหารงานเมื่อนำสัปปุริสธรรม 7 มาบูรณาการแล้ว เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานก่อให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา. (2530). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร. กรุงเทพฯ: กรมสามัญศึกษา.
พุทธทาสภิกขุ. (2545). จริยธรรมสำหรับครู. กรุงเทพฯ: ประสานมิตร.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ 37. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง