บุคลิกภาพ ทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้สินค้าของผลิตภัณฑ์ Artistry men ในเขตกรุงเทพมหานคร

ณวัฒน์ เล้าวัฒกีพงศ์

Abstract


      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ Artistry men ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพของลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ Artistry men กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ Artistry men ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาทัศนคติต่อส่วนประสมการตลาดบริการของผลิตภัณฑ์ Artistry men ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ Artistry men ในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์โดยใช้ t – test สำหรับตัวแปรอิสระมี 2 กลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One -  Way ANOVA) สำหรับตัวแปรอิสระที่มีตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) และใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอย เชิงพหุ Multiple Regression Analysis

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ Artistry men ในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ บุคลิกภาพเปิดเผย บุคลิกภาพที่เป็นลักษณะที่มีอารมณ์ด้านใดด้านหนึ่ง บุคลิกภาพที่ยึดมั่นในหลักการ บุคลิกภาพที่เป็นลักษณะใจกว้าง และมี บุคลิกภาพประนีประนอม พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุก
  2. ผู้บริโภคมีทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการขาย ด้านการสร้างและแนะนำเสนอลักษณะทางกายภาพ
  3. จากการศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ Artistry men ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร  พบว่า ส่วนใหญ่ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ต่อครั้ง เป็นจำนวนเงิน 1,001-3,000 บาท มีความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อ “ARTISTRY MEN” 1 ครั้ง / 3 เดือน  ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ประเภทที่ซื้อจากชอป “ARTISTRY MEN” มากที่สุดก็คือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใบหน้า และปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ท่านตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ “ARTISTRY MEN”  ส่วนใหญ่เป็นเพราะปัจจัยคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  4. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ Artistry men พบว่า ลูกค้าที่มีอายุ และสถานภาพต่างกันพฤติกรรมความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อ “ARTISTRY MEN” ครั้ง/3 เดือน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ 0.05 โดยที่ลูกค้าที่มีอายุ และสถานภาพต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อเกี่ยวกับความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อ “ARTISTRY MEN” ครั้ง/3 เดือน แตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้บริโภคที่มาอายุ 35 ปีขึ้นไป และสถานภาพสมรส มีพฤติกรรมความถี่ในการซื่อเครื่องสำอางค์ยี่ห้อ “Artistry men” ต่อครั้ง น้อยกว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 34 และสถานภาพโสด ส่วนลูกค้าที่มี อายุ สถานภาพ แตกต่างกันมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ Artistry men ในรายข้อค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์ “Artistry men” ต่อครั้ง ผลิตภัณฑ์ประเภทที่ซื้อจากชอป “Artistry men” มากที่สุด และปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ “Artistry men” ไม่แตกต่างกัน และลูกค้าที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พฤติกรรมค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์ “Artistry men” ต่อครั้ง ความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อ “ARTISTRY MEN” ครั้ง/3 เดือน ผลิตภัณฑ์ประเภทที่ซื้อจากชอป “Artistry men” มากที่สุด และปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ “Artistry men” ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ 0.05
  5. ทัศนคติต่อส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์ Artistry men ด้านบุคคล มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์ “ARTISTRY MEN” ต่อครั้ง ทัศนคติต่อส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์ Artistry men ด้านสถานที่จัดจำหน่าย มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเกี่ยวกับความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อ “ARTISTRY MEN” ทัศนคติต่อส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์ Artistry men ด้านการส่งเสริมการตลาด มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประเภทที่ซื้อจากช๊อป “ARTISTRY MEN” ทัศนคติต่อส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์ Artistry men ด้านการสร้างและแนะนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และด้านบุคคล มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ “ARTISTRY MEN” อย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ 0.05 

Keywords


บุคลิกภาพ, ทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภค

Full Text:

Untitled

References


กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ประภาวดี เกตุสุดา. (2555). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วราภรณ์ ระหงส์. (2550). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในธุรกิจขายตรงแอมเวย์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วิไลพร คบขุนทด. (2552). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อแอมเวย์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา. ค้นคว้าอิสระบริหารธุริกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง