ความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพกับการให้บริการด้วยใจ ของบุคลากรโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพกับการให้บริการด้วยใจของบุคลากร โรงแรมและรีสอร์ทจังหวัดปทุมธานีการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับบุคลิกภาพของบุคลากร โรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาระดับการให้บริการด้วยใจบุคลากร โรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อ หาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับการให้บริการด้วยใจของบุคลากร โรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี 4) เพื่อนำผลการวิจัยมาบูรณาการกับการสอนวิชาภาวะผู้นำและการพัฒนาทีมงานรายละเอียดดังนี้
ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรที่ทำงานอยู่ในโรงแรมและรีสอร์ทระดับ 3 ดาว ใน จังหวัดปทุมธานี ทั้งหมด รวม 10 แห่ง (Thai Tambon.com ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2556) ทำการเก็บตัวอย่างแบบเจาะจง โดยวิธีการคำนวณแบบไม่ทราบประชากร ได้ 385 ตัวอย่าง และเก็บข้อมูลจากโรงแรมและรีสอร์ท10 แห่ง แห่งละ 40 ตัวอย่าง
สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ t-test ,วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ใช้ One-Way ANOVA, Fisher’s Least-Significant Difference : (LSD), สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson correlation) และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคลของบุคลากรที่ทำงานในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดปทุมธานีส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)/ปวช. ประสบการณ์การทำงาน 1 - 5 ปี และสถานภาพการจ้างในตำแหน่งพนักงานประจำ
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคลที่แตกต่างกันระดับบุคลิกภาพต่างกัน พบว่า เพศ และตำแหน่งงาน ไม่แตกต่างกัน ด้านอายุการศึกษา สภาพการจ้างพนักงาน และประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคลที่แตกต่างกันระดับการให้บริการด้วยใจของบุคลากร ต่างกัน พบว่า เพศประสบการณ์การทำงาน สถานภาพการจ้างพนักงาน ตำแหน่งงาน และในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านอายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับการให้บริการด้วยใจของบุคลากร พบว่าบุคลิกภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับมาก กับการให้บริการด้วยใจของบุคลากรโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี โดยมีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ .799 มีความสัมพันธ์ร้อยละ 63.9
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). รวย! ด้วยคุณภาพการบริการที่เหนือชั้น. นนทบุรี: ชบาพับลิชชิ่ง เวิร์กส.
ว.วชิรเมธี. (2552). ธรรมะคลายใจ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: อมรินทร.
อภิญญา ศรีขาว. (2540). บุคลิกภาพของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ชั้นปีที่ 1 กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยา, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
Chang, Cheng-Ping. (2006). The Multilevel Exploration of Factors Influencing the Front-Line Employees’ Service Quality in International Tourist Hotels. Journal of Amarican Academy of Business.
Christopher H Lovelock, Lauren Wright. (1998). Principle of service marketing and management. Prentice Hall.
Costa, P.T., & McCrae, R.R. (1992). Revised Neo personality inventory (Neo PI-R) and Neo factor inventory (Neo- FFI): professional manual. Florida: Psychological Assessment Resources.
Eysenck, H.J. (1969). Personality in Primary School Children Part I. The British Journal of Educational Psychology.
Heskett. (1997). The Service Profit Chain: How Leading Companies Link Profit and Growth to Loyalty, Satisfaction, and Value.
Jung, Carl G. (1939). The Integration of The Personality. N.Y.: Ferrar & Rinehart.
Kolter Phillip. (2000). Marketing Management: Millennium Ed. New Jersey: Prentice-Hall.
Lin, Chiu & Hsieh. (2001). Investigating the Relationship between Service Providers’ Personality and Customers’ Perception of Service Quality across Gender. Total Quality Management.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. & Berry, L.L. (1988). SERVQUAL: a multiple-item scale for measuring consumer perception of Service Quality. Journal of Retailing.
Robbins, S.P. (1997). Essentials of Organizational Behavior. (5 th ed.). N.J.: Prentice-Hall.
Zeithaml, V. A. (1988). Consumer perceptions of price, quality and value: A means- end model and synthesis of evidence. Journal of marketing.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง