ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 สำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร กรณีมีผลกระทบต่อประเทศไทย

ภรณ์ทิพย์ ไทพาณิชย์

Abstract


     พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยนั้นยังจำกัดขอบเขตอำนาจการบังคับใช้กฎหมายไว้แต่กรณีที่การกระทำความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักรเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายกับกรณีที่การกระทำความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร แต่ผลกระทบจากการกระทำนั้นมาเกิดในราชอาณาจักรไทยได้ อันทำให้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยไม่สามารถดูแลปกป้องระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของประเทศให้แข่งขันกันได้อย่างเสรีและเป็นธรรมอย่างแท้จริง และไม่สอดคล้องกับนโยบายการแข่งขันทางการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

     จากการศึกษาข้อมูลทางเอกสาร หนังสือ บทความ รายงานวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ พบว่า พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสำหรับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรกรณีมีผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายประเด็น ประกอบไปด้วย ปัญหาการไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ใช้บังคับกับกรณีที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร ปัญหาองค์กรบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาอำนาจในการฟ้องคดี ปัญหาอำนาจในการสอบสวนความผิดที่กระทำลงนอกราชอาณาจักร ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดี ปัญหาเรื่องอายุความในการฟ้องเรียกค่าเสียหาย  จากปัญหาทางกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ทำให้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ไม่สามารถลงโทษแก่ผู้กระทำผิดได้คลอบคลุมถึงการกระทำที่กระทำลงนอกประเทศไทยแต่ผลกระทบมาเกิดในประเทศไทยได้ ดังนั้นจึงควรกำหนดมาตรการทางกฎหมายสำหรับการบังคับใช้แก่กรณีที่การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรแต่มีผลกระทบต่อประเทศไทยที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

 

Keywords


การบังคับใช้พระราชบัญญัติ,การแข่งขันทางการค้า

Full Text:

Untitled

References


กมลวรรณ จิรวิศิษฎ์. (2557). การ “ฮั้ว” เพื่อการส่งออก : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายสหรัฐอเมริกา. ใน กฎหมายกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้า 660 - 664). กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์.

เยาวเรศ ทับพันธุ์. (2557). เศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ ทฤษฎีและนโยบาย (พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2556). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศักดา ธนิตกุล. (2553). คำอธิบายและกรณีศึกษาพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สถาบันนโยบายและเศรษฐกิจ. (2542). โครงการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายแข่งขันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า, กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. คู่มือนักธุรกิจว่าด้วยนโยบายและกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของอาเซียน.

สิริพร เบญจพรจุลมาศ. (2548). การใช้เขตอำนาจรัฐนอกดินแดน (Long Arm Jurisdiction) ในกฎหมายระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาจากกฎหมายป้องกันการผูกขาดของสหรัฐอเมริกา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อวยพร สุวรรณสุนทร. (2545). การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้ากับกฎหมายสิทธิบัตร. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Beck, Roger B. (1999). World History: Patterns of Interaction. Evanston, Illinois: McDougal Littell.

Hovenkamp, Herbert. (1999). The Law of Competition and Its Practice : Federal Antitrust Policy (2 nd ed.).


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง