รูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

สุทธิกันต์ อุตสาห์

Abstract


         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่าย ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่าย ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอรามัน จังหวัดยะลา กำหนดระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การสนทนากลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  ประชากรคือ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)อำเภอรามัน จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามี 16  ตำบล 83 หมู่บ้าน จำนวน 163 คน และผู้ช่วยนักวิจัย จำนวน 16 คน เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีวิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ คือ 1)การสังเคราะห์เอกสารต่าง ๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การสังเคราะห์ประเด็นสถานการณ์สภาพปัญหาและอุปสรรค 3) การศึกษาสถานการณ์จริงในพื้นที่ 4) การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ผลการวิจัยพบว่า

1.   การจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายชุดความรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)ให้ประสบผลสำเร็จและได้มาตรฐาน เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม จะประกอบด้วยแนวทางดังนี้ คือ  1) การพัฒนาการมีส่วนร่วม 2) การพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์ 3) การพัฒนาการจัดการเครือข่าย

2.   การประเมินความสอดคล้องในการนำรูปแบบจำลองไปปฏิบัติที่ประกอบด้วย 1) เทคนิคการจัดการบริหารเชิงกลยุทธ์ 2) เทคนิคการจัดการเครือข่าย 3) เทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสม สอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

 

Keywords


การจัดการเชิงกลยุทธ์, กระบวนการการมีส่วนร่วม, การจัดการเครือข่าย

Full Text:

Untitled

References


กระแส ชนะวงศ์. (2557). ภาวะผู้นำทรงพลังสไตล์หมอกระแส “จากสุขศาลาสู่อาเซียน” (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.

แก้วตา เข้มแข็ง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของ โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น 2553. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

วรารัตน์ เขียวไพรี. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3, ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สิรบุตรการพิมพ์ จำกัด.

ศิริพร เพ็งจันทร. (2555). ทัศนคตขิองประชาชนต่อการใช้อาวุธปืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้กรณีศึกษาตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ : จากมุมมองนักบริหาร (Management from the Executive’s Viewpoint). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและ การติดตามประเมินผล. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2558, จาก http://www.thailandlawyer center.com.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง