การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนรายการเทิดพระเกียรติ ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

สฤษฎเกียรติ แจ่มสมบูรณ์

Abstract


        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนรายการเทิดพระเกียรติของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนรายการเทิดพระเกียรติของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และ (3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนรายการเทิดพระเกียรติของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ทั้งนี้ ได้นำแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน 7 ด้าน มาใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 เขต ได้แก่ เขตสวนหลวง และเขตวังทองหลาง จำนวน 1,106 คน เก็บรวบรวมข้อมูลสนามโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน นอกจากนี้ ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพอีกด้วย ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัญหาที่สำคัญคือ สถานีเผยแพร่รายการเทิดพระเกียรติต่อประชาชนในทิศทางที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนไม่มากเท่าที่ควร และขาดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน (2) แนวทางการพัฒนาที่สำคัญคือ สถานีควรเผยแพร่รายการเทิดพระเกียรติต่อประชาชนในทิศทางที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างความพึงพอใจให้ประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ (3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่สำคัญคือ สถานีควรมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนรายการเทิดพระเกียรติตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน 6 ด้าน โดยควรเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยดังนี้ (1) ด้านคุณภาพชีวิต (2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3) ด้านสังคม หรือส่วนรวม (4) ด้านความสมดุล (5) ด้านการสร้างเครือข่าย และ  (6)ด้านความรู้ หรือเทคโนโลยี


Keywords


การบริหารจัดการ, รายการเทิดพระเกียรติสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, แนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

Full Text:

Untitled

References


กรมการปกครอง. (2558). ระบบสถิติทางการทะเบียน. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 15, 2558, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_m.php.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2556). หลักการและเทคนิคการเขียนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และรายงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.

______. (2556). หลักการและเทคนิคการเขียนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และรายงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพช.

วิรัช วิรัชนิภาวรณ. (2558). การบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.

วีณา มโนหมั่นศรัทธา. (2548). การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศศิพันธุ์ เอียดเอื้อ. (2550). การเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามแนวทางการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการของจังหวัดกระบี่กับการบริหารราชการจังหวัดในอดีต. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2549). 60 ปี ครองราชย์ ประโยชน์สุข ประชาราษฎร์ พระเกียรติเกริกไกร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

Boston, J. & Chapple, S. (2014). Child Poverty in New Zealand. Wellington: Bridget Williams Books.

Boston, J., Martin, J, Pallot, J. & Walsh, P. (1996). Public management: The New Zealand model. Auckland: Oxford University Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง