มุมมองของผู้แทนชุมชนต่อการจัดบริการสาธารณะ ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

วิชิต ชัยเดชะ

Abstract


      การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษามุมมองของผู้แทนชุมชนต่อการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ๒) เพื่อทราบข้อเสนอแนะของผู้แทนชุมชนต่อการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้แทนชุมชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน ๖๒ ชุมชน ชุมชนละ ๓ คน รวมทั้งหมด ๑๘๖  คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)    

     ผลจากการวิจัย พบว่า มุมมองของผู้แทนชุมชนต่อการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครนครศรีธรรมราชนั้น ไม่ว่าจะจำแนกออกเป็นกลุ่มตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่อยู่ในชุมชนก็ตาม ต่างก็มีมุมมองในภาพรวมทั้งหมดว่า เทศบาลนครนครศรีธรรมราชจัดบริการสาธารณะอยู่ในระดับปานกลาง 

     ส่วนข้อเสนอแนะของผู้แทนชุมชนต่อการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครนครศรีธรรมราชนั้น มีดังนี้ ๑) ควรควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยง เช่น วัว สุนัข แมว ๒) ควรยกย่องนักเรียนดีด้วย มิใช่ยกย่องแต่เด็กเก่ง ๓) ควรปราบปรามยาเสพติดและการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างจริงจัง ๔) ควรพัฒนาชุมชนแออัด ให้สะอาด ปลอดภัยมากกว่าที่เป็นอยู่ ๕) ควรจัดการน้ำดื่ม น้ำใช้ให้เพียงพอในทุกฤดูกาล ๖) ควรจัดการที่จอดรถและทางเท้า โดยเฉพาะที่บริเวณตลาดทุกแห่ง ๗) ควรมีห้องน้ำสาธารณะให้ครบทุกที่สาธารณะและมากกว่าเดิม ๘) ควรดำเนินการให้เก็บขยะทุกวัน ในทุกที่ ๙) ควรการจัดการแหล่งมั่วสุมของเยาวชนโดยการติดตาม ดูแลอย่างสม่ำเสมอ ๑๐) ควรประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงในทุกเรื่องที่ต้องการสื่อกับประชาชน ๑๑) ควรมีมาตรการในเรื่องการถมที่ดินเพื่อสร้างอาคาร มิให้ถมสูงเกินจำเป็น ๑๒) ควรจัดการแสงสว่างในชุมชนให้เพียงพอ

 

Keywords


บริการสาธารณะ, เทศบาลนคร, นครศรีธรรมราช

Full Text:

Untitled

References


ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับประชากรจังหวัดนครศรีธรรมราช. (๒๕๕๖). สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน ๑, ๒๕๕๗, จากwww.nakhonsithammarat.go.th/people.php.

ปาริชาติ แซ่โล้ว. (๒๕๕๓). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการด้านบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต รัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภัทรธิรา ผลงาม. (๒๕๕๗). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน ๑, ๒๕๕๗, จากwww.rds.phd.lru.ac.th/Puttira%20Home/.

ยุวนัส จำปามูล. (๒๕๕๓). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ราชกิจจานุเบกษา. (๒๕๔๐). เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๕๕ ก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๐).

_____. (๒๕๔๒). เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๑๑๔ ก พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒. (๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒).

_____. (๒๕๕๐). เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๗ ก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐).


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง