การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง ที่มีต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองของนักศึกษาแพทย์และพยาบาลของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

สุดา สุวรรณาภิรมย์

Abstract


       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลที่มีต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมือง 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้งที่มีต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมือง 3) ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้งที่มีต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมือง และ 4) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้งที่มีต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองของนักศึกษาแพทย์และพยาบาลของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทั้งนี้แบบสอบถามได้มีการทดสอบความถูกต้องของเนื้อหา (Content Validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบความน่าเชื่อถือด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.871 และทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาแพทย์และพยาบาลของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 330 คน ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบค่าเฉลี่ยที (t-Test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมุติฐาน จากการทดสอบพบว่า ด้านเพศ ด้านชั้นปี ด้านคณะและด้านที่พักอาศัยที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองของนักศึกษาแพทย์และพยาบาลของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชที่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอายุ ส่วนอิทธิพลของพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้งและอิทธิพลของทัศนคติเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้งไม่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองยกเว้นอิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้งมีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองของนักศึกษาแพทย์และพยาบาลของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

 

Keywords


การตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมือง, นักศึกษาแพทย์และพยาบาล, มหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช

Full Text:

Untitled

References


กิตติคม พศินนกแสง. (2554). พฤติกรรมในการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรณีศึกษา: เขตเลือกตั้งที่ 14 เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

จุฑารัตน์ จึงเจริญสุขยิ่ง. (2551). ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปี พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ธานี สุขเกษม. (ม.ป.ป.). การอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 1. (งานวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

นันทวิช เหล่าวิชยา. (2554). สื่อออนไลน์กับอำนาจทางการเมือง. วารสารนักบริหาร. 31(2), 198.

นุชปภาดา ธนวโรดม. (2557). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ โพธิ์หวังประสิทธิ์. (2556). การกล่อมเกลาทางการเมืองในสังคมการเมืองไทย: ข้อสังเกตบางประการจากการศึกษาวิจัยที่มีอยู่. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 6 (1), 101.

มยุรี ถนอมสุข. (2554). การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตภาควิชา พลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วัฒนิภา ศิลปะกุล. (2550). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันทนา จันทพันธ์. (2552). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเมืองภาคพลเมือง: กรณีศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อรุณี ปริศนานันทกุล. (2552). มุมมองของนิสิตนักศึกษาต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเลือกตั้ง:กรณีศึกษาเฉพาะกรณีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

อัญชุลี วงษ์บุญงามและดารณี ธัญญสิริ. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคล.บทความพิเศษ วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 6(2), 99-112.

Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill Book.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior. (9 th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Smith, E. W. (1977). The lexicon Webster dictionary, encyclopedia. U.S.A.: The English Language Institute of America.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง