ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบาย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปปฏิบัติ ของบุคลากรระดับปฏิบัติการของกรุงเทพมหานคร

มีน่า สุปินะ

Abstract


      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเทคโนโลยี-สารสนเทศไปปฏิบัติของบุคลากรระดับปฏิบัติการของกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศไปปฏิบัติของบุคลากรระดับปฏิบัติการของกรุงเทพมหานคร         

      ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ระดับปฏิบัติการ จำนวน 450 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และวิเคราะห์ข้อเสนอแนะจากข้อคำถามปลายเปิด ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

      ผลการวิจัยพบว่า 1) มี 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศไปปฏิบัติของบุคลากรระดับปฏิบัติการของกรุงเทพมหานครด้านการรับรู้นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ  ด้านการสื่อสารภายในองค์กร ด้านทรัพยากร และด้านโครงสร้างองค์กร และพบว่าปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัย ดังกล่าว  มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศไปปฏิบัติของบุคลากรระดับปฏิบัติการของกรุงเทพมหานครด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน 2) ระดับความสำเร็จของการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศไปปฏิบัติของบุคลากรระดับปฏิบัติการของกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปานกลาง

 

Keywords


เทคโนโลยีสารสนเทศ, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Full Text:

Untitled

References


จิรวรรณ เล่งพานิชย์. (2551). องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนเอกชน ระดับอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไชยา เย็นแข. (2547). ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฐณัชญ์พร อุสุพันธ์. (2553). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้สตรีตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐพัชร์ ผาก่ำ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการออมทรัพย์ไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์หน่วยบัญชาการทหารอากาศโยธินจำกัด. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิชานโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2557). MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: แซท โฟร์ พริ้นติ้ง จำกัด.

พัชรินทร์ นาคะประวิง. (2550). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง กรมส่งเสริมการเกษตร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

วรกานต์ ชาญธีรวัฒนา. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต นโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัยพจน์ ดีวงค์. (2552). การรับรู้การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเขต 2 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุไลณี อาแล. (2552). การรับรู้นโยบายภาครัฐของประชาชนในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์ธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สรุปผลที่สำคัญ สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ กันยาน 7, 2557, จาก service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/icthh56.pdf.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล, กรุงเทพมหานคร. (ม.ป.ป.). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกรุงเทพมหานครระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2556 - 2559). ม.ป.ท.: ม.ป.ท.

อนันต์ศักดิ์ สร้างคำ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 14, 2558, จาก https://sites.google.com/site/anansak2554/thvsdi-kar-reiyn-ru-khx-ngblum.

อภิชาติ จันทะสิงห์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายพัฒนาบุคลากรไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ดับเพลิงกองปฏิบัติการดับเพลิง 1 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต นโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง