ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการคลัง ด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย
Abstract
การการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ข้าราชการหน่วยงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดหนองคาย 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีการ (T-Test) สำหรับตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่มและการหาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression)
ผลการศึกษาพบว่า
- ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี โดยส่วนมากมีตำแหน่งงาน คือ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงินและบัญชี และส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงาน ระยะเวลา 6-10 ปี สำหรับข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เคยเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มทดลองการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ในช่วงปี 2555-2556 การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลข้าราชการหน่วยงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) โดยภาพรวม พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
- จากการศึกษาระดับกลยุทธ์ในการดำเนินงานมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์ผลต่อประสิทธิภาพ พบว่า กลยุทธ์ในการดำเนินงาน ตามแนวคิด ของ 7S McKinsey ทั้ง 7 ด้าน คือ กลยุทธ์องค์กร โครงสร้างองค์กร ระบบภายในองค์กร รูปแบบการบริหาร บุคลากร ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และค่านิยมร่วม มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดหนองคายอยู่ในระดับค่อนข้างมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05, 0.01, 0.001
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย. ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการบันทึกบัญชีการจัดทำทะเบียนและรายงานทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ณัฐพัชร์ สมัครกสิกรรม. (2555). การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านบริหารการคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (E-LAAS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนกร กรวัชเจริญ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธันย์ชนก ธิติพงศ์วิวัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
นิคม หิรัญโรจน์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการของสำนักงานที่ดินกรณีศึกษา จังหวัดกระบี่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การตลาด, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
เนตรน้อง หาญลิพงศ์. (2553). ประสิทธิภาพจากการใช้ระบบ GFMIS ของหน่วยราชการในเขต อ.เมือง จ.พิษณุโลก.ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต บริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2546). การจัดการสมัยใหม่ : Modern management (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
ประชา ตันเสนีย์. (2553). 7’S Model 7 ลีลาการบริหาร (Style) แบบแผนพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสภาพแวดล้อมภายในองค์กร. (Online). สืบค้นเมื่อ กันยายน 9, 2553, จาก http//www.drpracha.com/index.hp?topic=1085.0.
วิชุดา จิวประพันธ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ปฏิบัติการ เอกสารสัญญาธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การประกอบการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและกาจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2555). คู่มือแนะนำการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
อำนาจ วัดจินดา. (2553). McKinney 7-S Framework แนวคิดปัจจัย 7 ประการในการประเมินองค์กร. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 26, 2553, จากhttp//www.gracczone.org/index…/81-inscarch-of-excellence.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง