ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการนำหลักธรรมาภิบาล มาบริหารงานในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

บรรเลง อินทร์จันทร์

Abstract


       การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารงานของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารงานของเทศบาลนครนครศรีธรรมราชระหว่างเพศชายกับเพศหญิง 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารงานของเทศบาลนครนครศรีธรรมราชใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประชากรคือ คณะกรรมการชุมชนหรือตัวแทนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ตามประกาศของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน  62 ชุมชน ประชากร จำนวน 1,001 คน กลุ่มตัวอย่าง 286 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple  random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จำนวน 3 ตอน 6 ประเด็นหลัก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยการคำนวณค่า IOC วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างค่าร้อยละ (Percentage) วิเคราะห์และสรุปผลแบบสอบถาม โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบความพึงพอใจฯ โดยการทดสอบค่าที (T-test)

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ในระดับปานกลาง 
  2. เปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างเพศชายและเพศหญิง ด้านหลักความคุ้มค่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. ประชาชนเสนอแนะให้มีการส่งเสริมสวัสดิการแก่ประชาชน การให้บริการที่เน้นคุณธรรม มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การทำกิจกรรมใด ๆ ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ผู้บริหารต้องรับผิดชอบต่อคำพูดที่ให้ไว้กับประชาชนและบริหารงานโดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง มีความคุ้มค่ากับงบประมาณ
 

Keywords


ความพึงพอใจ, ธรรมาภิบาล, การบริหารงาน

Full Text:

Untitled

References


โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จามรี พิลาสมบัติ. (2550). ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักธรรมาภิบาล ในเขตอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา.การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิตราวดี คำหล้า. (2554). การนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารงานเทศบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลนาจารย์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เตือนใจ ฤทธิจักร. (2550). ธรรมาภิบาลในการบริหารสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ตามทัศนะของบุคลากรสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ธนิตา ฐิติภากร. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบความโปร่งใสการบริหารงานของเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2544). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัย สถาบันพระปกเกล้า คุรุสภาลาดพร้าว.

วนิดา เทพชุม. (2550). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตามความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. รายงานการศึกษาค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุเทพ คุณกิตติ. (2548). หลักธรรมาภิบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุภัทรมาศ จริยเวชช์วัฒนา. (2547). การบริหารจัดการเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านฉาง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต นโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง