การวิเคราะห์การดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ของสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5

ณรัฐช์พงศ์ อุดมศรี

Abstract


       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์
การวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์แต่ละกลุ่มสถานีตำรวจภูธร เพื่อสังเคราะห์และเสนอแนวทางการดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ที่เหมาะสม ของสถานีตำรวจภูธร ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5 เป็นการวิจัยแบบผสม ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม แบบบันทึกการสังเกต และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจภูธร ในพื้นที่ 8 จังหวัด ของตำรวจภูธรภาค 5 จำนวน 400 คน และประชาชนผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธร ในพื้นที่ 8 จังหวัด ของตำรวจภูธรภาค 5 จำนวน 400 คน

         ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธร ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5 มีความเหมาะสมในระดับมาก ซึ่งประกอบไปด้วย สัมพันธภาพของตำรวจกับประชาชน ความชัดเจนในการดำเนินงานกับชุมชน การตอบสนองความต้องการของประชาชน การจัดกิจกรรมกับชุมชน และความร่วมมือจากประชาชน ตามลำดับ โดยสภาพการดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ มีความแตกต่างในองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน ซึ่งกลุ่มสถานีตำรวจภูธร จำนวน 65 สถานี ที่มีระดับสภาพการดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในระดับดี สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี  สามารถสร้างความชัดเจนในการดำเนินงานกับชุมชนให้เป็นรูปธรรม สามารถจัดกิจกรรมที่เกิดประโยชน์กับชุมชนได้ และสามารถสร้างสัมพันธภาพระหว่างตำรวจกับประชาชนได้เป็นอย่างดี                    

        โดยแนวทางการดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5 จะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนานโยบายไปปฏิบัติ ผู้บังคับบัญชาต้องเอาใจใส่ต่อการให้คำปรึกษา มีการติดตามผลและประเมินผลในด้านการบริหารต้องจัดให้มีการกำหนดหรือแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ มีบุคลากรเข้ามาดำรงตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ รองรับการปฏิบัติงานโดยตรง และจัดให้มีทีมงานหรือคณะทำงานในแต่ละพื้นที่ของสถานีตำรวจภูธร  รวมถึงการจัดให้มีอาสาสมัครจากประชาชนในพื้นที่ ให้เข้ามาบทบาทที่ชัดเจน เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและเพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นอาสาสมัครตลอดจนให้ความสำคัญในการพิจารณาทักษะการเข้าถึงชุมชน เทคนิค การออกแบบนวัตกรรม ในการจัดกิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อการป้องกันอาชญากรรม

 

Keywords


การดำเนินงาน, ชุมชนและมวลชนสัมพันธ์, ตำรวจภูธรภาค 5

Full Text:

Untitled

References


พงษ์สวัสดิ์ จันทร์เมืองวรรณ์. (2543). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อโครงการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.

รัฐศักดิ์ จันปุ่ม. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.

วสันต์ ชัยลา. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนตามโครงการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธรบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

สุภัทร ประดาสุข. (2554). การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อการสืบสวนสอบสวนของกองบังคับการตำรวจนครบาล 9. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง