กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อเว็บไซต์ของธุรกิจสปาที่ประสบความสำเร็จ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อเว็บไซต์ของธุรกิจสปา และ 2) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อเว็บไซต์ของธุรกิจสปาที่ประสบความสำเร็จ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ธุรกิจสปาที่ติดอันดับรางวัลดีเด่น 3 อันดับแรกของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 3 แห่ง คือ Health Land Spa & Massage, Urban Retreat Spa และ Thai Privilege Spa และเว็บไซต์ของทั้ง 3 แห่ง คือ http://www.healthland spa.com, http://www.urbanretreatspa.net, http://www.thaipr ivilegees pa.com โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 1) เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหาร 2) ผู้จัดการฝ่ายการตลาด 3) ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ 4) ผู้จัดการสปา แห่งละ 4 คนต่อเว็บไซต์ รวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น
แบบสัมภาษณ์และแบบวิเคราะห์เนื้อหาเว็บไซต์ โดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อเว็บไซต์ของธุรกิจสปา 3 แห่งพบว่าด้วยสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัว ทำให้ธุรกิจสปามีการแข่งขันสูงมาก มีการปรับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อเว็บไซต์เพื่อการอยู่รอดและเพื่อการแข่งขันโดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการทั้งระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจัดเก็บข้อมูลการให้บริการและการขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การสร้างโปรแกรมเพื่อการจัดการสินค้าคงคลังเพื่อช่วยในการจัดการสินค้าคงคลัง และการสร้างโปรแกรมระบบสปา เพื่อเก็บข้อมูลรายรับ รายจ่าย เป็นต้น 2) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อเว็บไซต์ของธุรกิจสปาทั้ง 3 แห่ง พบว่ามีการใช้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อเว็บไซต์ ประกอบด้วย
กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านราคา กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่ายและสถานที่ กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการขาย กลยุทธ์ด้านบุคลากรผู้ใช้บริการกลยุทธ์ด้านการนำเสนอทางกายภาพ และกลยุทธ์กระบวนการการให้บริการตามลำดับ โดยทั้ง 7 กลยุทธ์นั้นมีวิธีการนำเสนอผ่านสื่อเว็บไซต์ด้วยการออกแบบเว็บไซต์ทั้งหน้าโฮมเพจและเว็บเพจ โดยให้ความสำคัญกับ การกำหนดสีที่กลมกลืนกันเป็นโทนเดียวกันทุกหน้า การใช้ภาพประกอบ การกำหนดความเร็วที่เหมาะสม และการใช้ภาษาที่เรียบเรียงง่าย ชัดเจน ส่วนการจัดระบบข้อมูลในเว็บ ทั้งโฮมเพจและเว็บเพจ ให้ความสำคัญกับการกำหนดตำแหน่งของข้อมูลโดยเฉพาะส่วนบนสุดของเว็บไซต์ มีการเชื่อมโยงถึงกันทุกหน้า สามารถค้นหาข้อมูลย้อนหลังได้ มีการพัฒนาข้อมูลเชิงกลยุทธ์ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กระทรวงสาธารณสุข. (2549). ธุรกิจสปาประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 22, 2558, จาก http://www.dbdbizclub.com/bizclub/20Business/Sanambinnam/Spa_Sanambinnam.pdf.
กิตติ สิริพัลลภ. (2544). การสร้างคุณค่าให้ตรายี่ห้อ. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 22, 2558, จาก http://www.bus.tu.ac.th/usr/kitti/brand.doc.
จิตเกษม พัฒนาศิริ. (2539). เริ่มสร้างโฮมเพจด้วย HTML. กรุงเทพฯ: ธนาเพรสแอนด์กราฟิก.
ไทยพรีวิลเลจเจนสปา. (2558). ไทยพรีวิลเลจเจนสปา. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23, 2558, จาก http://www.thaiprivilegespa.com.
ธวัชชัย ศรีสุเทพ. (2544). คัมภีร์ Web Design. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
ธีรกิตินวรัตน ณ อยุธยา. (2549) . การตลาดบริการ แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ.
ปิยวรรณ หอมถวิล. (2539). แนวคิดการโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร มหาบัณฑิต การโฆษณาและประชาสัมพันธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และนภัสกร สุวรรณประกร. (2548). อุตสาหกรรมสปาในจังหวัดเชียงใหม่ : รายงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรายสาขา. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วินิจ รังผึ้ง. (2546). ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ กับสปาแบบไทย ๆ. กรุงเทพฯ: อนุสาร อสท. เล่มที่ 44 ฉบับที่ 2.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2544). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.
เสรี วงศ์มณฑา. (2546). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.
เออเบิลรีทรีทสปา. (2558). เออเบิลรีทรีท. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 24, 2558, จาก http://www.urbanretreatspa.net.
เฮลแลนด์สปา. (2558). เฮลแลนด์. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 22, 2558, จากhttp://www.healthlandspa.com/home.html.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง