ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับการเปิดเสรีการค้า บริการด้านทันตกรรม
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาปัญหา
และข้อจำกัดทางกฎหมายของการเข้าสู่ตลาดการค้าบริการด้านทันตกรรม ที่ไม่รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการรับรอง
การทำงานของทันตแพทย์ตามข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพทันตแพทย์ของอาเซียน ปัญหาการควบคุมและกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์
ปัญหาสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวตาม
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและ
กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทันตกรรม โดยสรุปได้ดังนี้
ปัญหาการรับรองการทำงานของทันตแพทย์ตามข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพทันตแพทย์ของอาเซียน ผู้เขียนเห็นว่าประเทศไทยควรออกกฎหมายภายในกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติ ประสบการณ์ และการขึ้นทะเบียนหรือใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ต่างประเทศที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย และการคุ้มครองดูแลทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน
ของประเทศไทย เพื่อป้องกันการย้ายออกของทันตแพทย์ไทยที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
จนทำให้ประเทศไทยขาดทันตแพทย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ เช่น เรื่องฐานรายได้และทุนการศึกษาเพิ่มเติม อีกทั้งผู้เขียนเห็นว่าประเทศไทยควรปรับปรุงหลักสูตรเฉพาะทางของทันตแพทย์ให้มีความเป็นสากลโดยใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษทั้งหมด เพื่อการแข่งขันในการเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเร่งผลิตทันตแพทย์เฉพาะทางอย่างจริงจัง ปัญหาการควบคุมและกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์นั้น ผู้เขียนเห็นว่า
ควรแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตแพทย์และอาศัยการดำเนินการในทางบริหารควบคู่ไปพร้อมกันด้วยจะทำให้การบังคับใช้
บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตแพทย์สามารถอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาผู้ให้บริการวิชาชีพตามเป้าหมายของ
แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เกิดประโยชน์และเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้
โดยอาศัยข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพทันตแพทย์
ของอาเซียนเป็นพื้นฐานในการดำเนินการขององค์กร
วิชาชีพหรือสภาวิชาชีพในการเตรียมความพร้อม
ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับการให้การรับรองคุณสมบัติวิชาชีพของคนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามกลไกกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกอาเซียน ปัญหาสัดส่วนการถือหุ้นของ
คนต่างด้าวในนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บริการวิชาชีพด้านสุขภาพเป็นเรื่องที่มีการเจรจาอยู่ภายใต้บริการสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาบริการที่มี
เป้าหมายลด/เลิกข้อจำกัดการค้าบริการ โดยต้องอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนมีสัดส่วนการถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในทุกสาขาบริการภายในปี 2558 ตามข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ
ชุดที่ 7 ของอาเซียน ผู้เขียนจึงเห็นควรให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของ
คนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวในนิติบุคคลที่จดทะเบียนประกอบธุรกิจในประเทศไทยที่ยังคงไม่เป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าว
ปัจจุบันในการพิจารณาการออกใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวได้แบ่งแยกลักษณะของการได้รับสิทธิตามกฎหมายพิเศษ ซึ่งการแบ่งแยกในลักษณะดังกล่าวยังขาดความยืดหยุ่นในการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากหากกรณีมิใช่การเคลื่อนย้ายคนต่างด้าวเข้ามาทำงานหรือให้บริการวิชาชีพภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายพิเศษแล้ว บุคคลธรรมดาผู้ให้บริการวิชาชีพย่อมมีสถานะ
ไม่ต่างไปจากคนต่างด้าวในกรณีทั่วไปที่จะต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้บทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวและอนุบัญญัติที่ออก
โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการทำงาน
ของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับตามบทเฉพาะกาล ด้วยเหตุนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว จึงได้แก่การกำหนดหลักการให้การบังคับใช้บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
มีผลต่อคนต่างด้าวที่มีสถานะแตกต่างไปจากกรณีของคนต่างด้าวทั่วไป โดยปัญหาและข้อจำกัด
ทางกฎหมายของการเข้าสู่ตลาดการค้าบริการด้าน
ทันตกรรมในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้เขียนเห็นว่าควรสร้างมาตรฐานวิชาชีพทันตแพทย์
ในระดับอาเซียน โดยแก้กฎหมายของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นไปตามข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพทันตแพทย์ของอาเซียน เนื่องจากปัจจุบันแต่ละประเทศยังคงมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปในกรณีทันตแพทย์ต่างชาติเข้าไปประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศของตน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีวัตถุประสงค์ในการรวมตัวกัน
ทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานความเท่าเทียมกัน และ
ผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
Full Text:
PDFReferences
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2551) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community : AEC (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ.
เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2551). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ:
จิรเดช มหาวรรณกิจ. (2550). สหภาพยุโรปโฉมใหม่ และ 27 ประเทศสมาชิก : สหภาพยุโรปกับบทบาทต่อโลกปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ยุโรปศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิโลบล ปางลิลาศ. (2554). เคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเข้าสู่ตลาดอาเซียนอย่างเสรี : โอกาสและผลกระทบต่อไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา.
ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2551). “รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับกฎระเบียบการเข้าเมืองและการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อรองรับ
การเปิดเสรีการค้า บริการ และการลงทุนของไทย”. กรุงเทพฯ.
ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552). “รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม”. กรุงเทพฯ.
สกล หาญสุทธิวารินทร์. (2548). คำอธิบายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ซี.พี.บุ๊ค สแตนดาร์ด.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2543,). การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายภายในของประเทศอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและรับรองการเปิดเสรีทางการค้าและเศรษฐกิจของอาเซียน : ภาคการค้าบริการและภาคการลงทุน เล่ม 1. รายงานฉบับสมบูรณ์เสนอหน่วยงานประจำชาติไทยในองค์การรัฐสภาอาเซียน : รัฐสภา.
สำนักการค้าและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2554, เมษายน). “การเจรจาการค้าบริการระหว่างประเทศ สาขาบริการวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม”. กรุงเทพฯ.
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การศึกษา : การสร้างประชาคมอาเซียน 2558 The Role of Education in Building an ASEAN Communit. กรุงเทพฯ.
ดาริกา โพธิรุกข์. (2553). กลไกทางกฎหมายในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประพีร์ อภิชาตสกล. (2542). การศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS). วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์มาศ ดวงมี. (2552). การขจัดอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้าในตลาดเดียวยุโรปใต้มาตรา 95 แห่งสนธิสัญญาโรมก่อตั้งประชาคมยุโรป. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาพร ใสเรียน. (2555). ผลกระทบต่อบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลธรรมดาผู้ให้บริการวิชาชีพภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 10-13
นิสา นพทีปกังวาน. (2555). “งานวันมาตรฐานแรงงานไทย...ความมั่นใจสู่ประชาคมอาเซียน.” วารสารแรงงานสัมพันธ์. 5, 8.
ประนอมศรี โสมขันเงิน. (2542). “การเจรจาเปิดเสรีภาคบริการของอาเซียน”. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 12(2), 25.
ประนอมศรี โสมขันเงิน. (2537). “การเปิดเสรีการค้าบริการ : ไทยพร้อมหรือยัง”. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 7(3), 75.
ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2554) “อาเซียนบังเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน”. วารสาร How to. 38.
พูนศรี คุลีเมฆิน. (2009,). “จากวันวานสู่อนาคตสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”. วารสารการค้าโลก : World Trade Journal 7(1), 7.
พัชราวลัย วงศ์บุญสิน. (2554) “การเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงานตามมาตรฐานอาเซียน กรณีศึกษาวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม”. รายงานผลการวิจัยเชิงสังเคราะห์ เสนอต่อสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา (องค์การมหาชน). หน้า 4.
วันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน. (2548). “ทุนและทุนขั้นต่ำตามกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าว”. Tax & Bussiness Law Magazine 11(126), 59.
สุทิวัล สร้อยทอง. (2555). “ข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียน”. วารสารการค้าระหว่างประเทศ. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, 2, 30-37
เสนีย์ แตงวัง. (2555) . “มาตรฐานแรงงานไทยกับแรงบันดาลใจ 9 พฤติกรรม 9 สู่ความสำเร็จ.” วารสารแรงงานสัมพันธ์. (5), 19.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2556). ข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ October 10, 2013, จาก http://www.thaifta.com/thaifta/Home/tabid/36/ctl/Details/mid/582/ItemID/4613/Default.aspx.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2554). ธุรกิจบริการ : วิชาชีพสุขภาพ (แพทย์ พยาบาล
ทันตแพทย์). (ออนไลน์). กรุงเทพฯ: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. http://www.dtn.go.th/filesupload/aec/images/health29-05-55.pdf.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2556). มาตรฐานร่วมสำหรับวิชาชีพที่ทำงานได้ในประเทศ AEC http://www.thai-aec.com/68. [2013, Oct, 10]. (MRA) (ออนไลน์).
กฤตญาภัค อุ่นเสรี. (2013). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (ออนไลน์). เอกสารความรู้ สดร. ฉบับที่ 15 ปีงบประมาณ 2554. www.stabundamrong.go.th. [2013, Nov 4].
ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพทันตแพทย์ของอาเซียน. (2013). ออนไลน์ Apr 10, 2013, http://www.thaifta.com/trade/ascorner/asean_doc4.pdf.
ธนกฤต วรธนัชชากุล. (2555). ประเทศไทย ความพร้อมด้านกฎหมาย สู่ประชาคมอาเซียน. (ออนไลน์). ค้นพบเมื่อ สิงหาคม 26, 2556, จาก WWW.THAI-AEC.COM.
นิโลบล ปางลิลาศ. (2013). “เคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเข้าสู่ตลาดอาเซียนอย่างเสรี: โอกาสและผลกระทบต่อไทย”. บทความวิจัยวิชาการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน). (ออนไลน์). ค้นพบเมื่อ พฤษภาคม 2, 2557, จาก http://www.itd.or.th/articles?download=118%3A2011-09-19-11-29-29. [2013, Mar 2].
พิศาล เทพสิทธา. (2013). “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กับการประกอบวิชาชีพของทันตแพทย์ไทย”. Thai Dental Magazine. ค้นพบเมื่อ มกราคม 15, 2557, มาจาก http://www.thaidentalmag.com/dent-stream-detail.php?type=10&id=313.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง