ปัญหากฎหมายข้อสัญญาไม่เป็นธรรมของระบบเกษตรพันธสัญญา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดจากข้อสัญญาไม่เป็นธรรม
ของระบบเกษตรพันธสัญญา แม้ว่าการทำเกษตรพันธสัญญาในประเทศไทยจะสร้างรายได้และ
เอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกรหลายประการ แต่ในทางปฏิบัติพบว่าบริษัทนำรูปแบบการทำเกษตร
พันธสัญญามาใช้ หากก่อให้เกิดปัญหาความ
ไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกร โดยปัญหาประการสำคัญเกิดจากข้อตกลงหรือเงื่อนไขของสัญญาระหว่างบริษัทและเกษตรกร เนื่องจากสัญญาที่เกษตรกร
ทำกับบริษัทมีลักษณะเป็นสัญญาสำเร็จรูป
ที่ฝ่ายบริษัทมีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ
ในสัญญาล่วงหน้าเพียงฝ่ายเดียว เกษตรกรจะมีสิทธิเพียงการเลือกว่าจะยอมรับและทำสัญญาหรือไม่เท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
ในสัญญาได้ ซึ่งเงื่อนไขบางประการอาจเป็นการ
เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรผู้ตกเป็นผู้รับตามข้อเรียกร้องในเงื่อนไขของสัญญา
จากการศึกษาพบว่า มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับข้อสัญญาไม่เป็นธรรมในระบบเกษตรพันธสัญญา กล่าวคือ ปัญหาการนำข้อสัญญาไม่เป็นธรรมมาใช้ในเกษตรพันธสัญญา ปัญหาจากการที่บริษัท
ใช้สัญญาสำเร็จรูป ซึ่งได้ระบุกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ รวมถึงข้อตกลงยกเว้นความรับผิดไว้ในสัญญา ทำให้เกษตรกรเสียเปรียบ ปัญหาการปรับใช้
พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 กับระบบเกษตรพันธสัญญาซึ่งเกิดข้อเสียเปรียบกับเกษตรกรในการฟ้องคดี และปัญหาการไม่มีบทบัญญัติของกฎหมาย และการขาดองค์กร
ในการแก้ไขปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรมให้กับเกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญา
Full Text:
PDFReferences
จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2528). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฉันทนา เจริญศักดิ์. (2551). สัญญาที่เป็นธรรม ในระบบเกษตรพันธสัญญา. กรงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดาราพร ถิระวัฒน์. (2542). กฎหมายสัญญา : สถานะใหม่ของสัญญาปัจจุบันและปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นนท์ นุชหมอน. (2556). การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย : เกษตรพันธสัญญาภาพรวมและบทสำรวจประเด็นปัญหาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เปนไท.
นฤมล สุขสวัสดิ์. (2550). ปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรมของธนาคารพาณิชย์ : ศึกษาเฉพาะกรณีสัญญาบัตรเครดิต. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ปันโน สุขทรรศนีย์. (2517). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2550). คำอธิบายกฎหมายนิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (ม.ป.ป.). เกษตรพันธสัญญา เพื่อบรรเทาความยากจน. กรุงเทพฯ:
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร.
วินัย ศิริมายา. (2542). ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในสัญญาสำเร็จรูปของ
ผู้ประกอบการบ้านจัดสรร. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิไลทิพย์ วัฒนวิชัยกุล. (2550). ข้อสัญญาไม่เป็นธรรมในสัญญาแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีภูพาน สุพรรณไชยมาตย์. (2552). สัญญาที่ไม่เป็นธรรมในคอนแทรกซ์ฟาร์มมิ่ง:ศึกษากรณีการเลี้ยงไก่เนื้อ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม, ศุภชัย ปทุมนากุล และคณะ. (2552). รายงานการวิจัย “เกษตรพันธสัญญา ผลตอบแทน ความเสี่ยง และความเป็นธรรม”. กรุงเทพฯ: ซีเวิลด์กราฟฟิก จำกัด.
จตุพล หวังสู่วัฒนา และ ชลธี วัฒนเวชวิจิตร. (2550). รายงานการวิจัย “แนวทางกฎหมายในการคุ้มครองเกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญา”. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ.
จรัญ ภักดีธนากุล. (2541). สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม.
ฉันทนา เจริญศักดิ์. (2551). รายงานการวิจัย “สัญญาที่เป็นธรรมในระบบเกษตรพันธสัญญา”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดาราพร เตชะกำพุ. (2526). ข้อกำหนดที่ไม่เป็นธรรมในสัญญา. วารสารนิติศาสตร์. 13(1).
บัญชร แก้วส่อง. (2549). รายงานการวิจัย “ระบบเกษตรพันธสัญญาและคุณภาพชีวิตแรงงาน
นอกระบบในภาคเกษตร”. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.
ลักคณา พบร่มเย็น. (2536). รายงานการวิจัย “กฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
วิยุทธ์ จำรัสพันธ์ และ ดุษฎี อายุวัฒน์. (2535). รายงานวิจัย “ระบบการผลิตภายใต้เงื่อนไขสัญญาของชาวบ้านในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุดใจ จงวรกิจวัฒนา. (ม.ป.ป.). รายงานการวิจัย “เกษตรพันธสัญญา เพื่อบรรเทาความยากจน (กรณีศึกษา จังหวัดเชียงใหม่)”. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
สมภพ มานะรังสรรค์. (2534). รายงานวิจัย “ระบบการผลิตแบบมีสัญญาผูกพัน : ทางออกของเกษตรกรไทย”. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีย์ วิบูลย์พงศ์ และทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์. (2538). รายงานวิจัย “การเกษตรแบบมีสัญญาผูกพัน : กลยุทธ์เพื่อการพัฒนาการเกษตรในภาคเหนือของไทย”. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิญญูชน.
สุดใจ จงวรกิจวัฒนา. (ม.ป.ป.). เกษตรพันธสัญญาเพื่อบรรเทาความยากจน (กรณีศึกษา จังหวัดเชียงใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
กรุงเทพธุรกิจ. (2554). เกษตรพันธสัญญา กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2555, จาก: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/samyan/20110811/404295/เกษตรพันธสัญญา-กับ-แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่-11.html.
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์. (2555). บ่วงบาศพิฆาตเกษตรกร (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2555, http://www.midnightuniv.org/บทความชุดเกษตรพันธสัญญา.
____. (2555). ผูกขาดชีวิต (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2555, จาก: http://www.midnightuniv.org/บทความชุดเกษตรพันธสัญญา.
____. (2555). บ่วงบาศพิฆาตเกษตรกร โศกนาฏกรรมเกษตรพันธสัญญา (ออนไลน์).
สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2555, จาก: http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000081820.
____. (2555). อาหารไทยกำลังวิกฤต (5) บรรษัทผูกขาด ทำ “สัญญาสำเร็จรูป” บีบเกษตรกรให้ผลิต ระดมสร้างเครือข่ายรื้อระบบที่ไม่เป็นธรรม (ออนไลน์). สืบคืนเมื่อ สิงหาคม 7, 2555, จาก : http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=671.
ชุลีพร บุตรโคตร. (2543). จี้สร้างกลไกแก้ปัญหา‘เกษตรพันธสัญญา’ หลังพบชีวิตเกษตรกรล่มสลายนับล้านคน ชี้ทำกระทบสิ่งแวดล้อม-ต้นน้ำยันปลายน้ำ (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2555, จาก: http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=787. [30, กรกฎาคม 2555].
ชมชวน บุญระหงส์, วิทยา จันทะวงศ์ศรี และทัศนีย์ ปาลี. (2543). รายงานวิจัย เรื่องระบบตลาดทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับสินค้าเกษตรกรรมยั่งยืน (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2555, จาก: http://northnetthailand.org/wp-content/uploads/2012/07/งานวิจัยระบบตลาดทางเลือก.pdf.
รัฐพล ศรีเจริญ. (2555). เกษตรพันธสัญญา หลักประกันของเกษตรกร (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2555, จาก: http://www.thaipost.net/news/160712/59666.
สุเมธ ปานจำลอง. (2555). กลุ่มเกษตรกรภาคอีสานประกาศจัดตั้ง “เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เกษตรพันธสัญญาและรับจ้าง” สู้สัญญาที่ไม่เป็นธรรมและสวัสดิการที่ไม่เคยได้รับจากรัฐและนายทุน (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2555, จาก: http://sathai.org/story_thai/009-Contract%20Farming%20Net.htm.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง