รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนาและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการใช้วิธีวิจัยแบบพหุวิธี (Multiple Methodologies) มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ในบทความวิจัยนี้ นำเสนอผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 เท่านั้น การวิจัยขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Analysis)
การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ (Expert Interview)จำนวน 2 รูป การศึกษาวัดพัฒนาตัวอย่าง (Case Study) จำนวน 2 วัด และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 คน
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของพระสังฆาธิการ ประกอบด้วย องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การมีวิสัยทัศน์
2. การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3. การวิเคราะห์สถานการณ์และการคาดการณ์อนาคต 4. การจัดสรรและการรู้จักใช้สอยทรัพยากร และ 5. การควบคุมและการประเมินผล รูปแบบหรือแนวทางการพัฒนา
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านงาน 2. ด้านภาวะผู้นำ 3. ด้านส่วนตัว และมีวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 4 วิธีการ ได้แก่ 1. การศึกษา 2. การสัมมนา 3. การฝึกอบรม และ 4. การดูงาน การวิจัยขั้นตอนที่ 2 เป็นการพัฒนา รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ (Modified Delphi
Technique) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 คน
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำตามองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด (ค่า Mdn. ระหว่าง 4.00 – 5.00)
และมีความสอดคล้องกันในระดับมาก (ค่า I.R. ระหว่าง 0.00 – 1.50) รูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำตามรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่า Mdn. ระหว่าง 4.50 – 5.00) และมีความสอดคล้องกันในระดับมาก (ค่า I.R. ระหว่าง 0.00 – 1.50)
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กัลยารัตน์ เมืองสง. (2550). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
จินตนา บุญบงกร และณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539). การวางแผนเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์. (2546). การศึกษาการปฏิบัติศาสนกิจของเจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
พระมหาไกรวรรณ ปุณขันธ์. (2552). ผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม. (วิทยานิพนธ์การปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
พระมหาสุริยา หอมวัน. (2544). บุคลิกภาพของเจ้าอาวาสที่พึงประสงค์ : กรณีศึกษาพระภิกษุสามเณรวัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. (สารนิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).
รวีวรรณ กลิ่นหอม. (2550). การพัฒนารูปแบบการวัดและเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนสายสามัญ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น).
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2547). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของคณบดี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สมยศ นาวีการ. (2548). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ : ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่
สมบูรณ์ พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Davies, B., Davies, B.J. & Ellison, L. (2005). Success and sustainability: Developing the strategically focused school. National College for School Leadership. Nottingham: NCSL.
Dejnozka, E.L. (1983). Educational administration glossary. Westport, CT: Greenwood.
DuBrin, A.J. (1998). Leadership : research, findings, practice, and skills 2th ed. New York: Houghton Miffin Company.
Halpin, A. W. (1966). Theory and research in administration. New York: Macmillan.
Ireland, R.D.,& Hitt, M.A. (1999). Achieving and maintaining strategic competitiveness in the 21st century: The role of strategic leadership. Academy of Management Executive,13(1), 114-119.
James M. Lipham & James A. Hoch. (1974). The principalship : foundations and functions. New York: Harper & Row.
Murry, J. W., & Hammons, J. O. (1995). Delphi: A versatile methodology for conducting qualitative research. The Review of Higher Education, 18(4), 423-436.
Preedy, M., Glatter, R & Wise, C. (2003). Strategic leadership challenges. Strategic Leadership and Educational Improvement. London: Cromwell.
Robbins, S.P. & Mary C. (2003). Management 7th ed. New Jersey: Prentice-Hall.
Stogdill, R.M. (1974). Handbook of leadership. New York: The Free Press.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง