การเยียวยาผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีมลพิษจากน้ำมัน

จิฑาวัฒน์ ประสงค์กุล

Abstract


ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายหลาย
ฉบับที่มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับ
ป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับมลพิษจากน้ำมัน
แต่ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
นับวันจะเกิดขึ้นที่มีลักษณะที่รุนแรง มีลักษณะที่
ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางและมีปัญหาสิ่งแวดล้อม
ที่ตามมาจนเป็นปัญหาระดับประเทศได้จึงถือว่า
เป็นปัญหาสำคัญของชาติ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนมุ่งศึกษาพระราช
บัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ.2535 รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
เยียวยาความเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม ว่ายังมีปัญหา
ทางกฎหมายในการเยียวยาความเสียหายให้แก่
ผู้เสียหายอยู่หลายประการ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับ
บทนิยามที่ยังไม่ชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาการตีความ
ในการบังคับใช้ โดยเฉพาะในกรณีของนิยามคำว่า
“ผู้เสียหาย” เป็นต้น อีกทั้ง ยังมีปัญหาเกี่ยวกับ
การพิสูจน์ความรับผิดของผู้กระทำ ตลอดจนปัญหา
เกี่ยวกับการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษ
เพื่อความเสียหายที่เกิดจากกรณีน้ำมัน หรือการ
กำหนดค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดย
ศึกษาแนวทางในการนำมาตรการอื่นๆ เพื่อนำมาใช้
ปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยเพิ่มขึ้นให้เป็น
ไปตามแบบอย่างเดียวกับต่างประเทศ
จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติส่งเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ยังคงไมมี่การกำ หนดนิยามของคำว่าผู้เสียหายในคดีว
สิ่งแวดล้อมไว้อย่างเพียงพอกับผู้ที่ได้รับความ
เสียหายจริง ส่วนหลักนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน
อยู่ในระหว่างประเทศ โดยสหรัฐอเมริกาใช้หลัก
ความรับผิดเด็ดขาด (Absolute Liability) คือ
ผู้กระทำความผิดก็ต้องรับผิดในทันที โดยไม่ต้อง
มีการพิสูจน์ความรับผิดกันอีก ส่วนในประเทศอังกฤษ
และสาธารณรัฐฝรั่งเศส การเยียวยาผู้เสียหาย
ใช้หลักการความรับผิดโดยเคร่งครัด (Strict
Liability) เป็นพื้นฐานในการตัดสินคดี ในส่วน
ของค่าเสียหายเชิงลงโทษ จากการศึกษากฎหมายไทย
ก็ยังไม่มีการนำมาใช้ในกรณีสิ่งแวดล้อม แต่ในต่าง
ประเทศกลับมีการเรียกค่าเสียหายที่จะต้องเกิดขึ้น
ในอนาคตที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งเรียกออกมา
ในรูปของค่าฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสียไปทั้งที่
เกิดขึ้นแล้วและจะเกิดขึ้นในอนาคต จากปัญหา
ดังกล่าวผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาปัญหาดังกล่าว
โดยมีข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้

1. กำหนดนิยามของผู้เสียหายให้ชัดเจน
โดยกำหนดให้รวมถึงผู้เสียหายโดยตรงและโดยอ้อม
2. กำหนดภาระการพิสูจน์ในการพิสูจน์ให้
ตกแก่ฝ่ายผู้ก่อให้เกิดมลพิษ และกำหนดให้ผู้ก่อ
มลพิษรับผิดอย่างเด็ดขาดไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น
3. ควรกำหนดคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ให้ใช้หลักการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ
4. ควรกำหนดค่าเสียหายตามพระราช
บัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
2535 มาตรา 96 วรรคท้าย ให้รวมถึงค่าฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไปและค่าเสียหายใน
อนาคตได้อีกด้วย


Keywords


เยียวยา, มลพิษน้ำมัน

Full Text:

PDF

References


กฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายอาญา

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2546

หนังสือ

กมลทิพย์ คติการ. (2539). ทฤษฎีสิทธิในสิ่งแวดล้อม, เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายสิ่งแวดล้อม

หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2556). คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง.

(พิมพ์ครั้งที่8) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2556). กฎหมายอาญาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2557). คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่งและ

ลาภมิควรได้. (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

สุษม ศุภนิตย์. (2555). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด. (พิมพ์ครั้งที่ 8).

กรุงเทพฯ : นิติบรรณการ.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2551). หลักกฎหมายอาญา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน

อำนาจ วงศ์บัณฑิต. (2557). กฎหมายสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 3) . กรุงเทพฯ; วิญญูชน.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2556). กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

วิญญูชน.

วิทยานิพนธ์

ปัจพร โกศลกิติวงค์. (2541). ความรับผิดทางแพ่งของผู้ก่อมลพิษในคดีสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์

นิติ ศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภคพร สุวรรณทัต. (2545). ความรับผิดทางกฎหมายในความเสียหายที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ จีเอ็มโอ.

วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มงคล วุฒิธนากุลม. (2536). การใช้หลักการผ้สู ร้างปัญหามลพิษเป็นผู้รับภาระในการแก้ปัญหามลพิษ

ทางน้ำจากภาคอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายสุดา นิงสานนท์. (2525 ). “ความรับผิดเด็ดขาดในกฎหมายละเมิด” (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร

มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารสาร

เขตไท ลังการ์พินธุ์. (2543). ความรับผิดฐานละเมิดโดยเด็ดขาดของกฎหมายสิ่งแวดล้อมของ

ประเทศอังกฤษ เปรียบเทียบกับกรณีของไทย, วารสารนิติศาตร์. (กันยายน).

ประพจน์ คล้ายสุบรรณ (2552). วารสารวิชาการศาลปกครอง ปีที่ 7 ฉบับที่ 2.

ภัทรศักดิ์ วรรณแสง. (2527). ความรับผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.

วารสารนิติศาสตร์, 14

มัลลิกา พินิจจันทร์. (2548). การป้องกันและแก้ไขมลพิษทางทะเลเนื่องจากน้ำมัน. วารสารรามคำแหง

ปีที่ 27 ฉบับที่ 2

สมศักดิ์ นวตระกูลพิสุทธิ์. (2546). ร่างกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยกับผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง. วารสารนิติศาสตร์. (26 ธันวาคม)

เอกสารภาษาต่างประเทศ

The Precautionary Principle 15 UNESCO. (2005).

Fletcher, The Theory of Criminal Negligence : A Comparative Analysis } 119 U of P.L.

Rev. 401, 402 (1971) :

Ronald H. Coase, The Problem of Social Cost, 3 J. Law & Econ. 1 (1960).

David Wilknson,Environment and Law, Routledge, London, 2002. p.97

อื่นๆ

กรมควบคุมมลพิษ . (2555). โครงการรวบรวมบทบัญญัติกฎหมายสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำ ประมวล

กฎหมายสิ่งแวดล้อม เอกสารประกอบการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น. ครั้งที่ 2-6

ในภูมิภาค 5

กอบกุล รายะนาคร. (2549). พัฒนาการหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน. เอกสารทางวิชาการ

โครงการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประพจน์ คล้ายสุบรรณ. (2547). เอกสารประกอบการบรรยายในการฝึกอบรมโครงการพัฒนา

ความรู้และประสทธิภาพการปฎิบัติงานของพนังงานคดีปกครอง.

วรานุช ภูวรักษ์ (2555) ปัญหาการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในศาลชั้นต้น. การอบรมหลักสูตรผู้พิพากษา

ผู้บริหารในศาลชั้นต้น สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2539). ทางเลือกในการเยียวยาผู้เสียหายจากปัญหามลพิษ. ดุลพาห เล่ม 1

ปีที่ 43 มกราคม-มีนาคม

สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2551. อนุสัญญาด้านทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม. กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาที่ปรึกษา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ฐานข้อมูลออนไลน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2552 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2516 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2499 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2505 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2506 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2507 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2495 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คดีหมายเลขแดงที่ 1820/2545 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2514 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559-1560/2504 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719-1720/2499 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 24/2545 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.

or.th

คำพิพากษาศาลปกครองคดีหมายเลขดำที่ 1516/2545 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.

supremecourt.or.th.

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 302/2548 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 516/2545 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 271/2545 เข้าถึงได้จาก: http:// www.deka2007.supremecourt.or.th.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง