ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกระทำของลูกหนี้กับบุคคลภายในของลูกหนี้ ที่ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายในคดีล้มละลาย

กรชนก เมืองแก้ว

Abstract


           เนื่องจากตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 คำนิยามของคำว่า “บุคคลภายในของลูกหนี้” ที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่มีความชัดเจนและไม่ครบถ้วนโดยบางอนุมาตราได้บัญญัติไว้แคบจนเกินไปทำให้เกิดความสับสนในการนำไปใช้ หรือบางอนุมาตราบัญญัติไว้กว้างจนไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้ว่ากฎหมายให้ใช้บังคับได้ถึงเพียงใดกับบุคคลใดบ้าง ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนของถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงส่งผลให้ลูกหนี้อาศัยช่องว่างของกฎหมายดังกล่าวนี้กระทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้กับบุคคลภายในของลูกหนี้อันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ในส่วนของระยะเวลาของการทำนิติกรรมระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายในของลูกหนี้ซึ่งนำมาเป็นเหตุในการเพิกถอนการกระทำกฎหมายบัญญัติไว้สั้นจนเกินไปอาจจะไม่เพียงพอที่จะป้องกันการกระทำของลูกหนี้ได้และการที่กฎหมายมอบอำนาจให้เฉพาะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจเพิกถอนการกระทำของลูกหนี้ อาจทำให้กระบวนการล้มละลายล่าช้าออกไปไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลายที่มุ่งหวังให้กระบวนการต่างๆ ดำเนินการไปอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม

            จากการศึกษาพบว่า หลักการเรื่องบุคคลภายในของลูกหนี้กฎหมายได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะกรณีนิติบุคคลเท่านั้น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สินนั้นเกิดได้ทั้งลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ (UNCITRAL) และกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสก็อตแลนด์ ประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐฝรั่งเศส กฎหมายกำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลภายในไว้ทั้งบุคคลผู้เกี่ยวข้อง บุคคลผู้ใกล้ชิดกับลูกหนี้ โดยรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วยอันเป็นการอุดช่องว่างในการกระทำของลูกหนี้ที่จะยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สินให้กับบุคคลอื่นๆ ส่วนเรื่องของระยะเวลาของการทำนิติกรรมที่นำมาเป็นเหตุในการเพิกถอนการกระทำของลูกหนี้กับบุคคลภายในของลูกหนี้นั้น แม้กฎหมายล้มละลายของประเทศไทยได้กำหนดระยะเวลาไว้แล้วคือหนึ่งปีก่อนขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น แต่ระยะเวลาดังกล่าวสั้นเกินไปเพราะบุคคลภายในของลูกหนี้เป็นผู้ที่ล่วงรู้ข้อมูลทางการเงินของลูกหนี้เป็นอย่างดีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ จึงได้ทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินจนเกิดปัญหาทำให้เจ้าหนี้ได้เปรียบเสียเปรียบกันและการที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ของการร้องขอเพิกถอนการกระทำของลูกหนี้ไว้เฉพาะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นอาจทำให้กระบวนการเพิกถอนดำเนินไปอย่างล่าช้าและเป็นการให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มากจนเกินไป

            ผู้เขียนจึงเสนอว่า “บุคคลภายในของลูกหนี้” หมายความรวมถึง บุคคลที่มีความพันธ์กันในครอบครัวกับลูกหนี้ โดยการสมรสและการสืบสายโลหิต ได้แก่ บิดา มารดา บุตรและหมายความรวมถึงบุคคลอื่นที่เป็นญาติหรือมิใช่ญาติที่พักอาศัยอยู่ด้วยกัน และรวมถึงบุคคลที่ลูกหนี้ไว้วางใจ โดยอาจมีปฏิสัมพันธ์กับลูกหนี้ที่มีระยะเวลาพอสมควรและบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันในบริษัทกับลูกหนี้ ได้แก่ กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ผู้สอบบัญชี และบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินกิจการของลูกหนี้ รวมทั้ง บิดา มารดา บุตร ของบุคคลดังกล่าว และอาจจะมีบุคคลอื่นที่เป็นญาติหรือมิใช่ญาติที่พักอาศัยอยู่ด้วยกัน ทั้งนี้อาจหมายความรวมถึงบุคคลที่ลูกหนี้ไว้วางใจด้วย พร้อมทั้งก􀂷ำหนดช่วงระยะเวลาของการโอนหรือการกระทำที่เป็นการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้สำหรับบุคคลภายในของลูกหนี้ให้มีระยะเวลาสองปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น และให้เจ้าหนี้เป็นบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้มีการเพิกถอนการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้ได้ด้วย


Keywords


ลูกหนี้, คดีล้มละลาย

Full Text:

PDF

References


หนังสือ

ขุน ศรียาภัย. (2514). คำสอนปริญญาตรีว่าด้วยบุคคล ทรัพย์ นิติกรรมและหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จี๊ด เศรษฐบุตร. (2553). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระยาเทพวิทูร ปรับปรุงโดย กำชัย จงจักรพันธ์. (2545). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรียงมาตราว่าด้วยนิติกรรม ระยะเวลา อายุความ. (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

โชค จารุจินดา. (2523). คำอธิบายกฎหมายล้มละลาย. กรุงเทพฯ: กองดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญา.

ปรีชา พานิชวงศ์. (2529). กฎหมายล้มละลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ.

ชีพ จุลมนต์. (2557). รวมคำบรรยาย สมัยที่ 63 วิชากฎหมายล้มละลาย (เล่มที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

วิชา มหาคุณ. (2542). กฎหมายล้มละลาย (ฉบับสมบูรณ์) หลักกฎหมายและแนวทางปฏิบัติว่าด้วยการล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการ และศาลล้มละลาย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.

สุธีร์ ศุภนิตย์. (2543). หลักกฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.

โสภณ รัตนากร. (2542). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ.

วิชัย วิวิตเสรี. (2527). กฎหมายลักษณะล้มละลาย. กรุงเทพฯ : นิติบรรณการ.

ไพโรจน์ วายุภาพ. (2545). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิรรัชการพิมพ์.

วิชา มหาคุณ. (2557). คำอธิบายกฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

สถาบันกฎหมายพัฒนาเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2547). กฎหมายล้มละลายในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ศักดิ์ สนองชาติ. (2545). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : นิติบรรณการ.

เอื้อน ขุนแก้ว. (2555). คู่มือการศึกษากฎหมายฟื้นฟูกิจการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: Pholsiam Printing and Publishing.

วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ. (2543). กฎหมายฟื้นฟูกิจการ. กรุงเทพฯ: บริษัทวิศิษฏ์สรอรรถ (ฝ่ายการพิมพ์).

กรมบังคับคดี. (2539). รวมคำพิพากษาฎีกา พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 พร้อม บันทึกหมายเหตุ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: บริษัทกรุงสยามพริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัด.

พรชัย อัศววัฒนา. (2546). เอกสารเพื่อประกอบการพิจารณากฎหมายของสมาชิกรัฐสภา เล่มที่ 13 เรื่อง ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข พระราชบัญญัติล้มละลาย พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทวี กสิยพงศ์. (2536). คำอธิบายพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 พร้อมด้วยประมวลระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.

วิทยานิพนธ์

นวชาติ ยมะสมิต. (2541). การเพิกถอนการกระทำหรือนิติกรรมที่กระทำไปแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัณฑิลา กิติโยดม. (2546). การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมบูรณ์ รู้กิจการพาณิชย์. (2538). ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 115 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ว่าด้วยการเพิกถอนการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียน (บจ/ป 23-00).

สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

อนิรุทธิ์ พิริยศักดิ์มนตรี. (ม.ป.ป.). เรื่องที่ 1039 บุคคลภายในของลูกหนี้ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=1039.[2555, 20 มิถุนายน].

_____.เรื่องที่ 1045 บุคคลภายในของลูกหนี้ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: Error! Hyperlink reference not valid.. [2555, 20 มิถุนายน]

เอกสารภาษาต่างประเทศ

Law

Insolvency Act 1986.

Bankruptcy (Scotland) Act 1985.

Bankruptcy Law of Japan 1986.

UNCITRAL (The United Nations Commission on International Trade Law)

Internets

Legal Information Institute. (1992). United State Code (Online). Available from : http://www.law.cornell.edu/uscode/text/11/101. [2012, August 2].

United Nations General Assembly. (2005). Draft legislative guide on insolvency law (Online).

Avilable from : http://www.uncitral.org/pdf/english/texts/insolven/05-80722_Ebook.pdf. [2012, July 15].


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง