การจัดการศึกษาแบบคุณธรรมนำความรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนสัตยาไส

จันทิรา ทวีพลายนต์

Abstract


               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การจัดการศึกษาแบบคุณธรรมนำความรู้ของโรงเรียนสัตยาไสด้านต่างๆ ได้แก่ หลักสูตร การเรียนการสอน เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการ (2) บทบาทของผู้บริหาร บทบาทของครู บทบาทของนักเรียน และบทบาทของผู้ปกครอง ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและผู้วิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการศึกษาแบบคุณธรรมนำความรู้ของโรงเรียนสัตยาไส จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เน้นคุณธรรมเป็นหลัก และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียน ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำนึงถึงการได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมและความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้หลักคุณค่าความเป็นมนุษย์ 5 ประการ คือ ความรักความเมตตา ความจริง ความประพฤติชอบ ความสงบสุข และความไม่เบียดเบียน หรือการไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ผ่านรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์ สอดแทรกใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้พหุปัญญา 8 ด้าน และเพิ่ม 1 ด้านในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายวิชาคุณค่าความเป็นมนุษย์ EHV (Education in Human Values) ตลอดจนการออกแบบวิถีชีวิตของนักเรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา และแนวคิดทฤษฎีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้มีความแตกต่างกับโรงเรียนอื่นๆ คือ การจำกัดหรือลดเวลาการใช้เทคโนโลยีโดยให้ใช้เท่าที่จำเป็น แต่จะเน้นการใช้แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง การจัดการเรียนการสอนโดยครูจะใช้การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนในการค้นหาคำตอบ การดึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ออกมาจากภายในของตัวนักเรียน โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นการหยั่งรู้ด้วยตัวเอง และการบริหารจัดการเน้นการมีส่วนร่วมอย่างเป็นกัลยาณมิตร เป็นการพัฒนาทั้งครูและนักเรียนไปพร้อมๆ กัน (2) บทบาทของผู้บริหาร การบริหารจัดการนำหลักการของกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับธรรมชาติของโรงเรียน เป็นผู้นำด้านองค์ความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนใหม่ๆ ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นตัวอย่างที่ดีทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้กับครู นักเรียน ผู้ปกครอง บทบาทของครูการเป็นตัวอย่างที่ดีเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคุณธรรมของนักเรียน บทบาทของนักเรียนเป็นผู้เรียนรักการเรียนรู้ บทบาทของผู้ปกครองการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม พร้อมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีให้สอดคล้องกับบทบาทของนักเรียน ตลอดจนพฤติกรรมของนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีส่งผลถึงการกระทำเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ปกครองด้วย เป็นการยกระดับพื้นฐานจิตใจทั้งระบบ (3) การจัดการศึกษาแบบคุณธรรมนำความรู้ของโรงเรียนสัตยาไสทำให้ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และทำให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้สำหรับในศตวรรษที่ 21


Keywords


การจัดการศึกษา, คุณธรรมนำความรู้, โรงเรียนสัตยาไส

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). คู่มือการพัฒนาคุณธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาคุณธรรม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). รายงานการติดตามประเมินผลผู้ผ่านการอบรมคุณธรรมนำความรู้: แนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

______. (2546). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). คลื่นลูกที่ 5 – ปราชญสังคม : สังคมไทยที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2551). การศึกษาและปลูกฝังคุณธรรมนำความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ธนวัฒน์ ธรรมโชติ. (2554). “กระบวนการพัฒนาความเป็นครูจากมิติด้านใน: กรณีศึกษาหลักสูตร SSEHV ของสถาบันการศึกษาสัตยาไส ประเทศไทย”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบันฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

รักษมล ตั้งคุณกิตติ. (2557). ความคงทนในการเรียนรู้เพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงาม: กรณีศึกษาศิษย์เก่าโรงเรียนสัตยาไสที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, มหาวิทยาลัยมหิดล.

วาสนา แสงวารินทร์. (2556). การปลูกฝังคุณธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธกรณีศึกษาโรงเรียนสัตยาไส. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธศาสตรและศิลปะแห่งชีวิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 1

สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน. (2547). รายงานคุณลักษณะและวิถีการเรียนรู้ของเยาวชนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา.

สุภาพ พิทักษ์วงศาโรจน์. (2538). ปรัชญาการศึกษาของไส บาบา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2549). บทบาทของสถาบันการศึกษาต่อการพัฒนาจิตใจ. นนทบุรี: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.

สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554). (เอกสารอัดสาเนา).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). สรุปสาระสาคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 (พ.ศ. 2555–2559). (เอกสารอัดสาเนา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2546). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์ โดยอิงแนวคิดการเรียนรู้จาการหยั่งรู้ด้วยตนเอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 121.

______. (2550). คุณธรรมนำความรู้: รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง