การบริหารบุคคลเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคทางอาชีพระหว่างหญิงและชายของหน่วยงานภาครัฐในกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานราชการในกรุงเทพมหานคร ภายใต้หลักความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย 2) ศึกษาระดับการบริหารจัดการบุคคลเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในหน่วยราชการในกรุงเทพมหานคร ต่อการบริหารจัดการบุคคลเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับการบริหารจัดการบุคคลเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย และ 5) เสนอแนวทาง การบริหารบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบุคคล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) การทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe’ Method) และการทดสอบค่า Chi-Square ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารบุคคลของหน่วยงานภาครัฐยึดกฎระเบียบในการบริหารงานบุคคลภายในหน่วยงาน เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติข้าราชการ
พลเรือน พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554 กฎระเบียบข้าราชการพลเรือน และอื่นๆขึ้นกับหน่วยงานต้นสังกัด การบริหารบุคคลในหน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับความเสมอภาคในการบริหารงานบุคคล โดยการให้โอกาสในการทำงานทั้งชายและหญิงอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมบุคลากรทั้งชายและหญิงได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนในการบริหารงานของหน่วยงานภายในองค์กร และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยระบบคุณธรรม
2. ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการงานบุคคลเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคทางอาชีพระหว่างหญิงและชาย ในหน่วยงานราชการ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การสัมมนาหรือประชุม การเลื่อนขั้นเงินเดือน การฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การมอบหมายงาน การบริหารงานบุคคลเรื่องอื่นๆ และการพัฒนา ตามลำดับ
3. บุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารบุคคลภายใต้หลักความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ระดับขั้นการปฏิบัติราชการ และระยะเวลาในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการบุคคลเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
5. แนวแนวทาง การบริหารบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย ได้แก่ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารบุคคลในหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นขั้นตอน ด้วยการร่วมกันวิเคราะห์สภาพเพื่อนำไปใช้วางแผนการบริหารบุคคล สู่การร่วมกันดำเนินการบริหาร ติดตามผลการบริหาร และสรุปเพื่อสะท้อนผลการบริหารจัดการบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ใจสคราญ หิรัญพฤกษ์. (2540). รายงานการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเสมอภาคบทบาทหญิงชายในการพัฒนาท้องถิ่นทุรกันดารอีสานใต้. กรุงเทพฯ: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โชติมา แก้วกอง. (2554). การเสริมสร้างความเสมอภาคหญิงชายให้เป็นกระแสหลักการพัฒนา : องค์ความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่ชุมชนเขตภูมิภาคตะวันตก. โครงการจัดตั้งสายวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2534). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธงชัย สันติวงษ์. (2546). การบริหารสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.
ธัญญา ผลอนันต์. (2546). การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล: แนวทางสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน เล่ม 5. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.
พฤกษ์ พรหมพันธุม. (2551). การส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายให้เป็นกระแสหลักการพัฒนา : กรณีศึกษา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสตรีศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2538). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.
ภาคภูมิ โกกะอินทร์. (2549). หลักความเสมอภาคในระบบกฎหมายไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เมทินี พงษ์เวช. (2547). ผู้หญิงและผู้ชาย : หุ้นส่วนที่เท่าเทียมในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา.
ยุวดี ศรีธรรมรัตน์. (2541). การบริหารงานบุคคลในภาครัฐกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วศินี ทองนวล. (2548). แนวทางการส่งเสริมและสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในราชการพลเรือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2546). การบริหารราชการไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ
สุธีรา ทอมสัน และ เมธินี พงษ์เวช. (2541). ผู้หญิงบนเส้นทางนักบริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา.
อำนวย ศรีพูนสุข. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาครัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Max Weber. (1966). The Theory of Social and Economic Organization. (Handerson & Parson Trans) New York: The Free Press.
Nigro, Lloyd G. (1977). Modern Public Administration. English: Addison-Wesley Educational Publishers, Incorporated
P. Smith. (1988). “On Equality : Justice, Discrimination, and Equal Treatment.” Feminist Perspectives on Law. pp. 37-40.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง