การระงับข้อพิพาทในกิจการโทรคมนาคมระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม

นลินทิพย์ เทวรักษ์พิทักษ์

Abstract


ความจำเป็นของการวิจัยเนื่องมาจากในทุก
วันนี้มีข้อพิพาทในกิจการโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น
และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะในกลุ่ม
ผู้ประกอบการกิจการโทรคมด้วยกันเอง หรือระหว่าง
ผู้บริโภคกับผู้ประกอบการกิจการโทรคม โดยการ
เพิ่มขึ้นของข้อพิพาทดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นมาจาก
หลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการ พัฒนาอย่างก้าว
กระโดดของเทคโนโลยีทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ
ระหว่างกัน ประกอบกับการออกประกาศของหน่วยงาน
กำกับดูแลผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
อย่างคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ
โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในปัจจุบัน
ที่ได้มีการกำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตฯ และ
ผู้รับอนุญาตให้ดำเนินการให้บริการโทรคมนาคม
จาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (บริษัท
ทีโอที จำกัด (มหาชน)) และการสื่อสารแห่ง
ประเทศไทย(บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด
(มหาชน)) ให้ต้องมีการก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ประกอบ
กิจการโทรคมนาคมด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การใช้
โครงข่ายโทรคมนาคม, การเชื่อมต่อโครงข่าย
โทรคมนาคม (Interconnection), การใช้โครงสร้าง
พื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่าย
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Telecom infrastructure sharing),
บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน
(MVNO) หรือการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์
เคลื่อนที่ภายในประเทศ (National Roaming)
เป็นต้น
โดยในปัจจุบันการระงับข้อพิพาทในกิจการ
โทรคมนั้นทำได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ
ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ศาลปกครอง การเสนอ
ข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ การเสนอข้อ
พิพาทต่อคณะกรรมการของคณะกรรมการกิจการ
กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติหรือการไกล่เกลี่ยกันในชั้นคณะกรรมการ
คุ้มครองผู้บริโภค แต่วิธีการระงับข้อพิพาทที่กล่าว
มาทั้งหมดข้างต้น ก็ยังมีปัญหาในการพิพากษา หรือ
การตัดสินชี้ขาด ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในกระบวนพิจารณา ซึ่งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(The International Telecommunication Union
: ITU) ได้เคยทำการศึกษาพบว่า ความล่าช้า
ในการระงับข้อพิพาทสามารถส่งผลกระทบอย่างร้าย
แรงต่อตลาดโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่ง
ที่ทำให้เงินทุนในภาคธุรกิจไม่มีความคล่องตัวซึ่งอาจ
ก่อให้เกิดการชะงักงันทางการลงทุน ในขณะที่
เทคโนโลยีวิ่งไปอย่างรวดเร็ว หรือจะเป็นการขาด
ผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เข้าใจ
ธรรมชาติของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และข้อ
สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สภาพบังคับของคำชี้ขาด
หรือคำตัดสิน ซึ่งเมื่อมีคำชี้ขาดออกมาแล้ว ยังไม่
สามารถบังคับ คู่กรณีได้อย่างแท้จริง หรือเป็นคำชี้ขาด
ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพของธุรกิจโทรคมนาคม
เป็นต้น
ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าคณะกรรมการกิจการ
กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติได้เคยออกประกาศ ว่าด้วยการใช้และ
เชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พุทธศักราช 2556
ที่มีการกำหนดกระบวนการระงับข้อพิพาทไว้
เป็นการเฉพาะ แต่ก็ใช้บังคับกับกรณีพิพาทในเรื่อง
การเจรจาที่เกี่ยวกับสัญญาการใช้หรือเชื่อมต่อโครง
ข่ายโทรคมนาคม เท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึง
ข้อพิพาทอื่นๆในอุตสาหกรรมโทรคมด้วย
ดังนั้น จากปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้นการ
ระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม
ควรจะเป็นองค์กรในการดำเนินการจัดตั้งหน่วยงาน
ขึ้นมาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ย และวินิจฉัยข้อ
พิพาทโดยเฉพาะ ซึ่งมีการกำหนดทั้งคุณสมบัติของ
ผู้ไกล่เกลี่ย และผู้วินิจฉัย รวมปถึงกระบวนการระงับ
ข้อพิพาทที่ชัดเจน


Keywords


การระงับข้อพิพาท, โทรคมนาคม, ผู้ประกอบกิจการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Full Text:

PDF

References


ปรัชญา อยู่ประเสริฐ .(2549). การอนุญาโตตุลาการไทย : ปัญหาและข้อขัดข้องในทางปฏิบัติ,

รวมบทความ ข้อบังคับ ข้อตกลงระหว่างเทศ กฏหมาย และคำพิพากษาที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ

เสาวนีย์ อัศวโรจน์.(2554). คำอธิบายวิชากฎหมายว่าด้วยวิธีการระงับข้อพิพาททางธุรกิจโดยการ

อนุญาโตตุลาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง