ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย

มลฤดี รัตนะคุณ

Abstract


วัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการศึกษาระดับปัจจัยกระบวนการบริหารมีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย และเพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคายจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ พนักงานส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) ปลัด 2) รองปลัด  3) ผู้อำนวยการกองคลังหรือหัวหน้าส่วนการคลัง 4) หัวหน้าฝ่ายการเงิน/หัวหน้าฝ่ายบัญชี/หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและจัดเก็บรายได้/หัวหน้าฝ่ายทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ แจกแจง ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมประสิทธิ์ถดถอยเชิงพหุ วิธีการ (T-Test) สำหรับตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยกระบวนการบริหารมีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมแล้วอยู่ในระดับมากเมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การรายงาน รองลงมา คือการงบประมาณ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การจัดคนเข้าทำงาน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ยังอยู่ในระดับมาก

2. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมแล้ว อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านปริมาณงาน รองลงมา คือ ด้านเวลา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านคุณภาพงาน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ยังอยู่ในระดับปานกลาง

3. เมื่อทดสอบสมมุติฐาน ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยวิธีการ t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า พนักงานส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดหนองคาย ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน


Keywords


ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ

Full Text:

PDF

References


โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสดำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

กัญญาณัฐ์ ใจซื่อ (2553) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัสดุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ควรคิด ชโลธรรังสี. (2542). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสุขาภิบาล จังหวัดอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

คฑาวุธ พรหมายน. (2545). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองตรวจคนเข้าเมือง:ศึกษาเฉพาะกรณี ข้าราชการตำรวจฝ่าย1 ฝ่าย 2. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จารุพงศ์ พลเดช. (2546). การบริหารงาน: การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

ชนากานต์ สมไธสง (2553) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการจัดการ 6M’s กับการบริหารงานพัสดุของเทศบาลตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2557). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเณศการพิมพ์.

อรษา โพธิ์ทอง. 2537. “ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพัฒนาการอำเภอในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (คพอ): ศึกษาเฉพาะอำเภอในเขตศูนย์ ช่วยเหลือวิชาการ พัฒนาชุมชน เขตที่ 7”.วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหา บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนัญญา ผมทอง (2553) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครสวรรค์. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

Barnard, C. I. (1986). The function of the executive. Canbridge: Harvard Uniersity Press.

Bartol, K.M. and Martin, D.C. Management. 3rd Ed. International Edition: Irwin/McGraw-Hill, 1998.

Drucker, Peter F. Managing for the Future. Oxford: Butterworth – Heinemann, 1994.

Griffin, Ricky W. Management. 5th Ed. Boston: Houghton Mifflin, 1996.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง