ภาวะผู้นำและสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษา

นพพร ล่ำสัน

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา
ระดับภาวะผู้นำ สมรรถนะของผู้บริหาร และความ
เป็นเลิศของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างภาวะผู้นำ สมรรถนะของผู้บริหารและความ
เป็นเลิศของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทาง
ตรงของภาวะผู้นำ และสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผล
ต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษา 4) เพื่อศึกษา
อิทธิพลทางตรงของภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะ
ของผู้บริหาร 5) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางอ้อมของ
ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษา
ในเขตตรวจราชการที่ 2 จำนวน 300 คน เครื่องมือ
วิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 135 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจก
ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและ
วิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การศึกษาระดับ
ภาวะผู้นำและสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อ
ความเป็นเลิศของสถานศึกษา ทุกองค์ประกอบ
มีระดับความคิดเห็นของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก
2) ภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อสมรรถนะ
ของผู้บริหารและความเป็นเลิศของสถานศึกษา
3) ภาวะผู้นำและสมรรถนะของผู้บริหารมีอิทธิพล
ทางตรงต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษา 4) ภาวะ
ผู้นำมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะของผู้บริหาร
5) ภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเป็นเลิศ
ของสถานศึกษา ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการ
โครงสร้างของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ
ภาวะผู้นำ สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความ
เป็นเลิศของสถานศึกษาหลังปรับโมเดล ความ
กลมกลืนของโมเดลในภาพรวม พบว่า สัดส่วนค่า
สถิติไคสแควร์/ ค่าชั้นแห่งความเป็นอิสระ (χ2/df)
มีค่าเท่ากับ 1.99 ผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดัชนี
กลุ่มที่กำหนดไว้ที่ระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 0.90
พบว่า ดัชนีทุกตัวได้แก่ GFI = 0.94, AGFI =
0.91, NFI = 0.99 , IFI = 0.99, CFI = 0.99
ผ่านเกณฑ์ดัชนีที่กำหนดไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.08,
RMR = 0.01 และ RMSEA = 0.06 ผ่านเกณฑ์
เช่นเดียวกัน แสดงว่าโมเดลสมการโครงสร้างของ
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำ
สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศ
ของสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับ
ข้อมูลเชิงประจักษ์


Keywords


ภาวะผู้นำ; สมรรถนะ; ความเป็นเลิศ

Full Text:

PDF

References


รังสรรค์ ประเสริฐศรี. 2551. ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. 2541. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค์ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิวิมล สุขทนารักษ์. 2554. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สิร์รานี วสุภัทร. 2544. ภาวะผู้นำและสมรรถนะบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อวยชัย ชะบา. 2540. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 22. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ สุโขทัยธรรมาธิราช.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. 2547. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Dubrin. J. 1998. Leadership Resarch Finding: Practice and skills. New York: Houghton Mifflin Compan.

Donnelly, James H., Jr. 1997. Organizations, Behavior Structure Processes. International Edition. United States of America: Irwin/McGraw-Hill.

McClelland, D.C. 1975. A Competency Model for Human Resource Management Specialists to be Used in the Delivery of the Human Resource Management Cycle. Boston: Mcber.

Schermerhorn, John R.; Hunt, James G.; & Osborn, Richard N. (2000). Organizational behavior. 7th ed. New York.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง