รูปแบบการกำกับดูแลธุรกิจขายตรงเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

ภูเชษฐ์ เผดิมปราชญ์

Abstract


การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) มาตรการการกำกับดูแลธุรกิจขายตรงเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 2) ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากมาตรการการกำกับดูแลธุรกิจขายตรงเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 3) กำหนดรูปแบบการกำกับดูแลธุรกิจขายตรงเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 4) ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการการกำกับดูแลธุรกิจขายตรงกับรูปแบบธุรกิจขายตรง 5) มาตรการการกำกับดูแลธุรกิจขายตรงที่ส่งผลต่อรูปแบบธุรกิจขายตรงกลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกบริษัทขายตรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ผู้นำและผู้บริหารในบริษัทขายตรง ผลการวิจัย พบว่ามาตรการการกำกับดูแลธุรกิจขายตรง ด้านความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และด้านการประชาสัมพันธ์จากภาครัฐ โดยภาพรวม กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากมาตรการการกำกับดูแลธุรกิจขายตรง โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากรูปแบบการกำกับดูแลธุรกิจขายตรง ควรมีความร่วมมือกันระหว่าง 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหา และกำกับดูแล โดยจัดตั้งเป็นหน่วยงานขึ้นโดยเฉพาะผลการหาค่าความสัมพันธ์ของ Pearson พบว่า มาตรการการกำกับดูแลธุรกิจขายตรง ด้านความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการประชาสัมพันธ์จากภาครัฐ และปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากมาตรการการกำกับ ดูแลธุรกิจขายตรง มีความสัมพันธ์กับรูปแบบธุรกิจขายตรง ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ จะเห็นว่า ปัจจัยทั้งสองมีความสัมพันธ์กับรูปแบบธุรกิจขายตรงในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่า มีเพียงปัจจัยมาตรการการกำกับดูแลธุรกิจขายตรงเท่านั้นที่ไม่ สามารถพยากรณ์รูปแบบธุรกิจขายตรงได้ ส่วนปัจจัยปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากมาตรการการกำกับดูแลธุรกิจขายตรงสามารถพยากรณ์รูปแบบธุรกิจขายตรงได้


Keywords


ธุรกิจขายตรง; รูปแบบการกำกับดูแล; การคุ้มครองผู้บริโภค

Full Text:

PDF

References


คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2553) มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว: ศึกษากรณีการรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวโดยธุรกิจขายตรง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2547). การสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

วรัญญู วงศ์พินทุ. (2550). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจขายตรงอาหารเสริม. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

วิชิต อู่อ้น และอำนาจ วังจีน. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS. กรุงเทพฯ: พรินท์แอทมี.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง. (2556). การขายตรง. สืบค้น 1 สิงหาคม2556, จาก http://lvcl.lampangvc.ac.th/KM/files/110318099082650_11090115155353.pdf

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2550). บทบาทภาครัฐและภาคเอกชนในการคุ้มครองผู้บริโภค. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2550). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: ข้อเสนอกรอบแนวคิดหนึ่งเพื่อการวิจัยเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 3-22.

วิลาสินี อัครวิบูรณ์. (2550). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจขายตรง : ศึกษากรณี อันมีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมาคมการขายตรงไทย. (2556 ก). จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลก. สืบค้น 1 สิงหาคม 2556, จาก http://www.tdsa.org/upload/จรรยาบรรณFinal.pdf

สมาคมการขายตรงไทย. (2556 ข). ประวัติความเป็นมาของธุรกิจขายตรง. สืบค้น 1 สิงหาคม 2556,จาก http://www.tdsa.org/content/71/1

สายฝน รัตนภิรมย์. (2552). นโยบายรัฐในการควบคุมอาชญากรรมแชร์ลูกโซ่ที่แฝงในธุรกิจขายตรง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2556 ก). งานด้านขายตรงและตลาดแบบตรง (ออนไลน์). สืบค้น 1 สิงหาคม 2556, จาก http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/ewt_news.

php?nid=779

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2556 ข). สคบ. กับการคุ้มครองผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส􀂷ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2499). ประมวลกฎหมายอาญา. ราชกิจจานุเบกษา. 73 (95), 155-156.

Hillier, David., & McColgan, Patrick. (2006). An analysis of changes in board structure during corporate governance reforms. European Financial Management,12(4), pp.575-607.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง