การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดปทุมธานี

ภวัต ธนสารแสนล้าน

Abstract


การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะในการประกอบธุรกิจ และการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับ ทักษะในการประกอบธุรกิจ และการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ทักษะในการประกอบธุรกิจ กับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม และ 4) เปรียบเทียบทักษะในการประกอบธุรกิจและการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test , One-Way ANOVA และ Chi-Square
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่ เป็นผู้ชาย มีอายุไม่เกิน 29 ปี เป็นเจ้าของธุรกิจ ทำธุรกิจค้าปลีก และประกอบธุรกิจไม่เกิน 5 ปี ผู้ประกอบการธุรกิจ มีระดับความชำนาญเกี่ยวกับทักษะในการประกอบธุรกิจ และความต้องการเกี่ยวกับ การพัฒนาศักยภาพ อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ผู้ประกอบการธุรกิจ ที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน มีระดับความชำนาญเกี่ยวกับ ทักษะในการประกอบธุรกิจ และความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพ แตกต่างกัน และความชำนาญทักษะในการประกอบธุรกิจ ของผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์ กับ ความต้องการการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05


Full Text:

PDF

References


กาญจนา โปธิ. (2550). การวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจขนากลางและขนาดย่อมในกิจการประเภทเซรามิกของจังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2546). รายงายวิจัยเรื่อง อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: กลุ่มแอดวานซ์รีเสิร์ซ.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2543). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.กรุงเทพฯ: กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์)

ชาญชัย สวิตรังสิมาและคณะ (2524). สร้างทีมงานให้แข็งแกร่ง. กรุงเทพมฯ: สำนักพิมพ์สายใจ.

เชาว์ โรจนแสง. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร. เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยาการจัดการ.(หน่วยที่2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2539). ส􀄬ำรวจสถานความรู้เกี่ยวกับชุมชน. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2551, จาก http://www.swu.ac.th/edu/ac/websnong/web01/internet_le.html.

ผุสดี รุมาคม. (2540). การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

มัชฌิมา ศรอินทร์. (2548). ความต้องการความรู้เรื่องการประกอบธุรกิจและวิธีการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ราชบัณฑิตยสถาน. (2526). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เจริญทัศน์.

วิรัช วงษ์วิไลวารินทร์. (2546). การศึกษารูปแบบการคิดของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ และคณะ. (ม.ป.ป). ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). กลยุทธ์การตลาด การบริหารการตลาดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทธีระฟีล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.

ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2545). ร่างสมุดปกขาววิสัยทัศน์ SMEs ไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ แนวทางการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (ม.ป.ป.). วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2551, จาก http://www.ismes.or.th/intro-ismed/quotaion-php.

สมคิด บางโม. (2540). ธุรกิจทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นำอักษรการพิมพ์.

สมศักดิ์ กุลสราวุธ. (2534). ความพร้อมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ: ศึกษาเฉพาะ กรณีจังหวัดชัยนาถ. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย. (2533). ภาพรวมของอุตสาหกรรมไทยในภูมิภาค. โครงการวิจัยอุตสาหกรรมและการจ้างงานในชนบท. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สริสา ตระกูลวงษ์. (2540). ศักยภาพและกลไกการปรับตัวขององค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์

สังคม คุณคณากรสกุล. (2544). ศัพท์พัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์, สมาคมพัฒนาสังคม.

สำนักมาตรฐานการศึกษา. (2545). การจัดการและการวางแผนธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). จำนวนผู้ประกอบที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง