รูปแบบการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทยจากชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ตลาดค้าปลีก

กันยาวีร์ เมฆีวราพันธุ์

Abstract


การวิจัยเรื่องครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย คุณลักษณะภายในของผู้ซื้อผ้าไหมไทย และประสิทธิภาพของการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย คุณลักษณะภายในของผู้ซื้อผ้าไหมไทย และประสิทธิผลของการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทย3) เพื่อศึกษาเสนอแนะรูปแบบการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทยจากชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ตลาดค้าปลีก โดยใช้กรอบแนวความคิดในการศึกษา รูปแบบของการวิจัยใช้เฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณเท่านั้น ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ซื้อผ้าไหมไทย จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้านสถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์รายละเอียดข้อมูลทั้งตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรก ตัวแปรผล ที่มีความสัมพันธ์กันตามข้อสมมติฐานของการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation) และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ Factor Analysis ผลการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย คุณลักษณะภายในของผู้ซื้อผ้าไหมไทย และประสิทธิภาพของการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทยผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความคิดมากที่สุด คือ การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคุณลักษณะภายในของผู้ซื้อผ้าไหมไทย และประสิทธิภาพของการจัดการ
ช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทย ผลการวิจัย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย คุณลักษณะภายในของผู้ซื้อผ้าไหมไทย และประสิทธิภาพของการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทย ผลการศึกษา พบว่า การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะภายในของผู้ซื้อผ้าไหมไทย และประสิทธิภาพของการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ผลการวิจัย 3) เพื่อเสนอแนะรูปแบบการ
จัดการช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทยจากชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ตลาดค้าปลีก
ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันรูปแบบการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทย
จากชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ตลาดค้าปลีกผลการศึกษาพบว่า มี 1 ตัวแบบ การวัดประกอบด้วย
ตัวแปรอิสระ คือ การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย ประกอบด้วย ด้านการบริหารงาน ด้านทีมงาน
สัมพันธ์ ด้านการบริการ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ตัวแปรแทรก คือ คุณลักษณะภายในของผู้ซื้อผ้าไหมประกอบด้วย พบว่า ด้านการเรียนรู้
ด้านทัศนคติ ด้านแรงจูงใจ ด้านภาพลักษณ์และตัวแปรผล คือ ประสิทธิภาพของการจัดการ
ช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าไหมไทย ประกอบด้วยด้านความพึงพอใจ ด้านความจงรักภักดี


Keywords


รูปแบบ; การจัดการ; ช่องทางการจัดจำหน่าย; ผ้าไหมไทย

Full Text:

PDF

References


กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). จริยธรรมทางธุรกิจ. สำนักพิมพ์ปัญญาชน. กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2553). บทสรุปการเรียนรู้จากการศึกษาดูงานด้านการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ณ ประเทศญี่ปุ่นปี 2550. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม:กรุงเทพมหานคร.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ:กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการอำนวยการโครงการ OTOP Product Champion. (2553). คู่มือการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. กรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย: กรุงเทพฯ.

เสรี พงศ์พิศ. (2550). คูมือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง. เจริญวิทย์: กรุงเทพฯ.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2548). Thailand Stand-up. พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์: กรุงเทพฯ.

Arnold, H.T. and Feldman DC. (1986). Intergroups Conflict in Organization Behavior. New York: McGraw-Hill

Boulding, K.E. (1975). The Image; knowledge in life and society. Ann Arbor:The University of Michigan Press.

Chairawee Anamthawat. (2006). Retail Propinquity: A Location Strategy in Thailand Doctor of Philosophy in Marketing. Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University.

David C. McClekkand. (1973). Test for Competence, rather than intelligence. American Psychologists.

Francis, D. & D. Young. (1979). Improving Work Group : A Practical Manual for Team Building. La Jolla, Calif : University Associates.

Griswold, A.B. (1996). Towards a History of Sukhodaya Art. The Fine Arts Dept.

Harold, K. (1993).Developing a competency model based maintenance managerqualification program utilizing concept mapping methodology. Unpublished dissertation doctorate, Capella University, Minneapolis.

Kotler,P. (2000). Marketing Management : Analysis, Planning, Implementing and Control.Tenth Edition. Englewood Cliffs : Prentice-Hall Inc.

Kerin, Roger A., Harley, Steven William and Rudelius, William. (2004). Marketing: The Core. Boston: McGraw-Hill.

Kerin, R.A., Berkowitz, E.N., Hartley, S.W, and Rudelius, W. (2009). Marketing. 7th ed.Singapore: McGraw-Hill. Inc.

Kotler,P. (2001). Kotler on Marketing : How to Create, Win and Dominate Markets. UK : CPI Mackays.

Knight, C. Durham, C. and Locke, E. (2001). The Relationship of Team Goals, Incentives, and Efficacy to Strategic Risk, Tactical Implementation, and Performance.Academy of Management Journal.

Kirkmand, B.L. and Rosen, B. (2000). Powering Up Teams, Organizational Dynamics.

Kennedy, R., & Ehrenberg, A. (2001). There is no brand segmentation. Marketing Research.

Lucy, S. (2003). Food product design: Beverage creation. Retrieved: New Jersey:Prentice-Hall.

Lawler III, E.E. (1996). From the Ground Up. San Francisco: Jossey-Bass.

Meyer, C., (1994). How the Right Measures Help Teams Excel. Harvard Business Review.

Marquis, B. L. and Huston, C. J. (2006). Leadership Roles and Management Functions in nursing: Theory and Application. 5th ed. R. R. Donnelley-Crawfordsville: Lippincott.

Parker, G. M. (1990). Team Players and Team Work : The New Competitive Business Strategy. San Francisco, Calif. : Jossey – Bass.

Remus, C. (1995). Maintaining product quality. New Jersy: Prentice-Hall.

Rice, J.(1998). Packaging trends & challenges. Perform. New York:Macmillan.

Schiffman, Leon G. and Kane Leslie Lazar. (2004). Consumer Behavior. 9 th. ed. New Jersey: Pearson Education.

Simon,Herbert A.,Smithburg, Donald W., and Thompson, Victor A., (1961). Public Admisnistration. New York: Alfred Aknopt.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง