ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวทางแก้ไข

ศักดิ์ชัย ดีละม้าย

Abstract


ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยที่ผ่านมา ได้บัญญัติการกำกับดูแลองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้มีการกำหนดมาตรฐาน
กลางเพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นเลือกไปปฏิบัติ ซึ่งต้องจัดให้มีกลไกการ
ตรวจสอบการดำเนินงานโดยประชาชนเป็นหลัก
ตามมาตรา 282 วรรค 2 รวมถึงการวางหลักการ
กระจายอำนาจการปกครองให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ในการกำหนดนโยบาย การบริหารการ
จัดการ การเงิน และการคลัง ถือได้ว่าเป็นการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยและเป็นการปกครอง
โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
โดยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน
และเพื่อประชาชน ซึ่งมาจากเหตุผลที่ว่า อำนาจ
อธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
กล่าวคือ เป็นหลักปกครองที่ยึดหลักสิทธิ เสรีภาพ
ความเสมอภาคของประชาชน ซึ่งเปน็ เจ้า ของอำนาจ
อธิปไตยที่แท้จริง ในรูปแบบการปกครองแบบรวม
อำนาจและกระจายอำนาจในระบอบประชาธิปไตย

นั้น ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นส่วน
สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครองแบบกระจาย
อำนาจซึ่งเป็นการปกครองที่เป็นหลักการปกครอง
แบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั้น
ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการใช้สิทธิรวมทั้งการ
ตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองได้
จากการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการมีส่วน
ร่วมของประชาชนในการตรวจสอบในองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และแนวทางแก้ไขครั้งนี้
จะครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลและ
ตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นโดยหน่วยงานภาครัฐและประชาชน โดย
ในหน่วยงานภาครัฐจะเน้นให้ทราบถึงรูปแบบวิธีการ
กำกับดูแล และตรวจสอบ รวมถึงระเบียบกฎหมาย
ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้น และในประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นจะเน้นการศึกษาถึงรูปแบบ และวิธีการในการ
ตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชนในปัจจุบัน

ผู้วิจัยพบว่า การบริหารงานปกครองส่วน
ท้องถิ่นควรจัดทำแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการมีส่วน
ร่วมของประชาชนในกิจการท้องถิ่น ควรให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับประชาคมท้องถิ่นจัดทำ
แผนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ควร
จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ
ชุมชน ควรจัดทำคู่มือและหลักสูตรการกำกับดูแล
และตรวจสอบการบริหารงานของท้องถิ่น ควร
ส่งเสริมการใช้สื่อต่างๆ เพื่อเข้าถึงประชาชน และ
ควรให้ประชาชนตรวจสอบการบริหารงานโดยมี
ตัวชี้วัดผลงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


Keywords


ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน; การตรวจสอบองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น

Full Text:

PDF

References


วิษณุ เครืองาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แสวงการพิมพ์, 2520

สมภพ โหตระกิตย์. กฎหมายรัฐธรรมนูญ (2 ภาค). กรุงเทพมหานคร : น่ำเซียการพิมพ์, 2512

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. รายงานการวิจัยเรื่องการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2538

มานิตย์ จุมปา. ความรู้เกี่ยวกับรฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ 2540. กรุงเทพมหานคร

นิติ ธรรม, 2541

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับ

ความเป็นประชาธิปไตย. ในเอกสารการสัมนาททางวิชาการเรื่องสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่. กรุงเทพมหานคร คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย, 2541

ประทาน คงฤทธิศึกษาการ. โครงการวิจัยเรื่องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเอง. กรุงเทพมหานคร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2518

อุทัย หิรัญโต. การปกครองทิองถิ่น. กรุงเทพมหานคร ส􀂷ำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2513

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. การบริหารการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ. โครงการผลิตตำราและวิจัยทาง รัฐศาสตร์,กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2520

ชูวงษ์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2539

อนันต์ อนันตกูล.หลักกฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2521

Karl Deutech H. “ Social Mobilization and Political Development. United of America:American Political Review} 1989

George Thomas. B.De Huszen. Political Science Lowa : Adams & Co.,Press, 1955

Robson William. A. Local Government In Encylopaedia of Social Science., Vol. X New York : The Macmillan, 1953

Wit Daniel. A Comparative Survey of Local Government and Administration. Bangkok:Prachandra Pringting Press, 1951


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง