ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดของศูนย์การค้าชุมชนกับพฤติกรรมการใช้บริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมและปัจจัยการตลาด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่และทำเลที่ตั้ง บุคคลากร การส่งเสริมการตลาดกระบวนการบริการและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับพฤติกรรมการใช้บริการ จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคจำนวน 400 คน ที่มาใช้บริการศูนย์การค้าชุมชน ได้แก่ ศูนย์การค้ามาร์เก็ต เพลส บางบอน, ศูนย์การค้ามาร์เก็ต เพลส ประชาอุทิศ, ศูนย์การค้ามาร์เก็ต เพลส สุขาภิบาล 3, ศูนย์การค้าสยามฟิวเจอร์ ทาวน์ เซ็นเตอร์ 4 สุขุมวิท 71, ศูนย์การค้ามาร์เก็ต เพลส ทองหล่อ ซอย 4, ศูนย์การค้ามาร์เก็ต เพลส ทุ่งมหาเมฆ, ศูนย์การค้า ปิยรมย์ เพลส (ซอยสุขุมวิท 101/1) และมาร์เก็ตเพลส นวมินทร์ (สุขาภิบาล 1) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบ Chi-Square ค่าการทดสอบ t-test การวิเคราะห์
ความแปรปรวนแบบทางเดียว ถ้าพบความแตกต่างรายคู่ใช้วิธี LSD และการทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายหรือธุรกิจส่วนตัว และมีสถานภาพโสด
พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้บริการศูนย์การค้าชุมชนส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลัก
ในการมาใช้บริการคือ ช้อปปิ้งโดยเหตุผลหลักที่การมาใช้บริการคือ ใกล้บ้าน ส่วนใหญ่ตนเองเป็นบุคคลที่ตัดสินใจเลือกใช้บริการ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อสินค้าและบริการต่อครั้ง 500-1,000 บาท ความถี่ในการมาใช้บริการคือ 1-2 ครั้งต่อเดือน โดยวันที่มาใช้บริการส่วนใหญ่คือ จันทร์-ช่วงเวลา 17.01-22.00 น.
ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านบุคคลากร ด้านกระบวนการบริการด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพด้านการส่งเสริมการตลาดด้านราคาตามลำดับ
และด้านสถานที่และทำเลที่ตั้งอยู่ในระดับปานกลางเมื่อทำการเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพการศึกษา สถานภาพสมรส พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลกับปัจจัยการตลาด จำแนกตามเพศ พบว่า ไม่มีความแตกต่าง แต่เมื่อจำแนกตามอายุ อาชีพการศึกษา สถานภาพสมรส พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดกับพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ที่มาใช้บริการ ปัจจัยด้านราคามีความสัมพันธ์กับเวลาที่มาใช้บริการ ปัจจัยด้านสถานที่และทำเลที่ตั้งมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้บริการ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับวันที่มาใช้บริการวัตถุประสงค์และวันที่มาใช้บริการ ปัจจัยด้านบุคคลากร และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนในการตัดสินใจใช้บริการ
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง