ผลการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่จังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง

วัฒนา สุราษฎร์มณี

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) นำเสนอ
ผลการศึกษาการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 3) แนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง บทความนี้ศึกษาโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 366 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าสถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 คน ที่เลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีอุปมานวิเคราะห์ และการตีความ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่างในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับสูงสุด (x = 3.62) รองลงมาคือ ด้านการใช้ทรัพยากรการบริหาร (x = 3.52) ด้านการจัดกิจกรรมต่างๆ (x = 3.51) ด้านการใช้ข้อมูลข่าวสาร (x = 3.49) และด้านการจัดการศึกษา (x = 3.48) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญจำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ การประสานงานการประเมินผลนโยบาย การมีส่วนร่วมกับศูนย์การเรียนรู้อื่นและชุมชน การยอมรับของศูนย์การเรียนรู้อื่นและชุมชน ทรัพยากรทางการบริหาร และการนำนโยบายไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถทำนายผลการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่างได้ ร้อยละ 84.80 (Adjusted R2 = 0.848) 3) แนวทางในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่างที่เสนอแนะ ประกอบด้วยการดำเนินการที่สำคัญ 8 ประการคือ คือ (1) มีนโยบายที่เหมาะสม และตรงกับความต้องการของประชาชนในชุมชน สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงและสามารถปฏิบัติได้จริง (2) มีการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติในแต่ละโครงการแล้ว เพื่อให้ทราบการบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (3) มีการสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนได้เป็นอย่างดี (4) มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และมีการประสานงานทั้งในเครือข่ายและนอกเครือข่ายองค์กร (5) มีการพัฒนาปรับปรุงผลงานของศูนย์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนอย่างสมำเสมอ (6) มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการ ตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมทำ (7) มีการร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ทั้งราชการส่วนท้องถิ่นและราชการส่วนภูมิภาคทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น (8) มีการจัดการศึกษาที่เป็นระบบและให้ชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง และควรมีหลักสูตรที่หลากหลาย ยืดหยุ่น ให้อิสระแก่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนได้


Keywords


ผลการบริหารจัดการ; ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน; จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

Full Text:

PDF

References


กระทรวงมหาดไทย. (2550). มาตรฐานศูนย์การเรียนชุมชน. เอกสารอัดสำเนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). แนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.

นันทวัน เรืองอร่าม. (2554). การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชนนาจอมเทียน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปราโมทย์ น้อยวัน. (2550). ศึกษาแนวทางการจัดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของอ􀄬ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง. (2547). การศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนชุมชนที่เหมาะสม

ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาคกลาง ราชบุรี: ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง.

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศนอ.) “ศ.อ.ศ.อ.”ศูนย์. (2547). การพัฒนา

รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ของชุมชน. อุบลราชธานี: ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศนอ.) “ศ.อ.ศ.อ.”.

อนงค์ ชูชัยมงคล. (2554). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาครูศูนย์การเรียนชุมชน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์

ครุศาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อรุณ รักธรรม. (2525). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อานุภาพ เลาหวิเชียร. (2531). ปั้นดาวให้เป็นดาวรุ่ง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อุทัย เลาหวิเชียร. (มปท.ป. รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและมิติต่างๆ. ส􀂷ำนักพิมพ์เสมาธรรม.

Arther, G.L. (1995, January). “Restructuring a Traditional Junior High School Study of Public Agency Partnerships,” Dissertation Abstracts International. 55 (12) : 3691-A.

Bardo J.W. and Hardman. JJ. (1982). Urban Sociology: A systematic introduction.

New York: F.E. Peacock Publishers, Inc.

Brown, W. and D.Moberg. (1980). Organization Theory and Management: A Macroapproach.New York: John Wiley & Sons, Inc.

Bush, Tony. (1986). Theories of Education Management. London: Harper and Row, Publishers.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง