การนำนโยบายการส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ไปปฏิบัติ ในเขตภาคกลาง

ณรงค์ อาศนสุวรรณ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการนำนโยบายการส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์
ไปปฏิบัติในเขตภาคกลาง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์
ไปปฏิบัติในเขตภาคกลาง และ 3) เพื่อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบาย
การส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ไปปฏิบัติในเขตภาคกลาง การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากประชาชน
ที่ใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ในจังหวัดสระแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดอ่างทอง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้วยสูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.886 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพด􀂷ำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน ที่เลือกโดยวิธีเจาะจงจากประชากร 3 กลุ่มๆ ละ 10 คน คือ 1) กลุ่มภาคประชาชน 2) กลุ่มผู้บริหารภาคเอกชน และ 3) กลุ่มผู้บริหารภาครัฐ ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดอ่างทอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีอุปมานวิเคราะห์และการตีความ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการนำนโยบายการส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ไปปฏิบัติในเขตภาคกลาง พบว่า โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (x =3.03, S.D.=0.871) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีระดับความสำเร็จทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านสร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (x=3.13, S.D.=0.185) รองลงมาคือ ด้านบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย (x=3.08, S.D.=1.185) และด้านเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในภาพรว (x=2.88, S.D.=1.116) ตามล􀂷ำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการ

นำนโยบายการส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์
ไปปฏิบัติในเขตภาคกลาง มี 3 ด้าน ประกอบด้วย 11 ตัวแปร คือ (1) ด้านนโยบายการส่งเสริมเซลล์แสงอาทิตย์ มี 4 ตัวแปร ได้แก่ มีวัตถุประสงค์
ที่ชัดเจน มีความต่อเนื่อง นำไปปฏิบัติได้ และวัดผลและประเมินผลได้ (2) การบริหารจัดการตามนโยบายการส่งเสริมเซลล์แสงอาทิตย์ มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ภาวะผู้นำที่เหมาะสมความพร้อมทางทรัพยากร
การประสานงานที่ดี และความสามารถในการให้ความรู้ และ (3) การบริการเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ของประชาชน มี 3 ตัวแปร ได้แก่ การมีส่วนร่วมของประชาชน ความรู้ความเข้าใจของประชาชน และประโยชน์ของประชาชน โดยปัจจัยทั้ง 11 ตัวแปร สามารถทำนายประสิทธิผลการนำนโยบายการ
ส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ไปได้ร้อยละ 76.10 (Adjusted R2 =.761) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) แนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อการนำ นโยบายการส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์
ไปปฏิบัติในเขตภาคกลาง ที่เสนอแนะประกอบด้วยการปฏิบัติที่สำคัญ 7 ประการคือ (1) นโยบายควรมีความชัดเจนและสร้างความเข้าใจในเทคโนโลยีทางเลือกของเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) ควรสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในการพัฒนาเทคโนโลยี การจัดหาเงินทุน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) ควรมีการวางแผนแบบบูรณาการเพื่อวางนโยบายที่ให้การสนับสนุน การสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมและสร้างนวัตกรรมในวงกว้าง (4) ควรร่วมมือกันส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และลดมลภาวะ (5) ควรศึกษาความคาดหวังก่อนใช้เซลล์แสงอาทิตย์ของผู้ที่ยังไม่เคยใช้และความพึงพอใจหลังใช้เพื่อนำมาวัดประสิทธิภาพของการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ (6) ด้านธุรกิจควรมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในครัวเรือนและกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก (7) ควรผลักดันและสร้างแรงจูงใจในระยะเริ่มต้น ทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมประหยัดพลังงานและการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยตำ ระยะยาว และ (8) ภาครัฐควรสนับสนุนทั้งในกลุ่มครัวเรือนและผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าในรูปแบบเงินช่วยเหลือและสิทธิประโยชน์ อาทิ การลดหย่อนภาษี และการยกเว้นภาษีเงินได้ เป็นต้น


Keywords


การนำนโยบายไปปฏิบัติเซลล์แสงอาทิตย์

Full Text:

PDF

References


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2555). โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เขื่อนสิรินธร

อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: กฟผ.

กระทรวงพลังงาน. (2552). สถิติพลังงานของประเทศไทย. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.

คงศักดิ์ คุ้มราศี. (2549). นโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานพาหนะ

เพื่อทดแทนนำมันเชื้อเพลิงในอนาคต. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธนวดี ศุภตโลวัฒนา. (2546). การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และทางการเงินของการ

ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จากหลังคาบ้าน. ภาคนิพนธ์เศรษฐศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรรคเดช เหลืองกัมพูสิน. (2544). ความเป็นไปได้ในการใช้แผงสุริยะทดแทนไฟฟ้าจากระบบสายส่งในเขตอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สุริยะการพิมพ์.

วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง