การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) พัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) ตรวจสอบรูปแบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวิธีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความรู้ แนวคิดทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือคือ แบบศึกษาเอกสาร ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบโดยศึกษาภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 3.1) การตรวจสอบรูปแบบเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม 3.2) การตรวจสอบรูปแบบเชิงปริมาณ โดยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 302 คน จากการเปิดตารางแครจซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ คือแบบสอบถาม ที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.92 ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบที่สมบูรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีการวิเคราะห์เนื้อหา
Keywords
Full Text:
PDFReferences
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2547) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ ในระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คงศักดิ์ สันติพฤกวงษ. (ผู้แปล). (1986). เศรษฐมิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: รู้แจ้ง.
จิตต์วิมล คล้ายสุบรรณ. (2556). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดสุพรรณบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิวัตร นาคะเวช. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนในฝัน. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเซีย.
พิเชษ โพธิ์ภักดี (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนนิติบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์จิต มาศจิตต์. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 11. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในสถาน ศึกษาพิ้นฐานตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง