ประสิทธิผลของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามแนวชายแดนแม่น้ำโขง

พัฒน์ธนธร ตันติเวชยานนท์

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลของนโยบายการป้องกันและ
ปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดนแม่นำโขง และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของนโยบาย
การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดนแม่นำโขง แบบของการวิจัยและพัฒนา
โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก
โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 42 คน คือ ผู้บริหารสำนักงานศูนย์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดระดับจังหวัด ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชนและประชาชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และเชิงปริมาณ ประชากร 2,790 คน คือ ประชาชนในเขตอำเภอเมืองและข้าราชการตำรวจสังกัดสถานีตำรวจภูธรระดับอำเภอ ได้กลุ่มตัวอย่าง 350 คน วิธีการ
สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย แบ่งการวัดเป็น
5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอ

แบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิผลของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดนแม่นำโขง จำนวน 3 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x= 4.20) โดยด้านการสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา
มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการลดความรุนแรงของปัญหา และด้านการสร้างความเชื่อมั่น
ให้แก่ประชาชน ตามลำดับ
2. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดนแม่น้ำโขง มีจำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่
1) การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด 2) การร่วมมือระหว่างประเทศ 3) การปราบปราม/บังคับใช้กฎหมาย 4) การบริหารจัดการ 5) การสร้างภูมิคุ้มกัน/ป้องกัน และ 6) นโยบายสามารถน􀂷ำไปปฏิบัติได้ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดนแม่น􀂷้ำโขง ได้ร้อยละ 78.20 (R2 = 0.782)


Keywords


ประสิทธิผล; การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; แนวชายแดนแม่น้ำโขง

Full Text:

PDF

References


จักษ์ จิตตธรรม. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารการมีส่วนร่วมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อป้องกันยาเสพติดและอาชญากรรมในเด็กด้อยโอกาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จังหวัดนครพนม. (2556). ผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2556. เอกสารบรรยายสรุปเรื่องยาเสพติด ปีงบประมาณ 2556 ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดนครพนม.

จังหวัดหนองคาย. (2556). ผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2556. เอกสารบรรยายสรุปเรื่องยาเสพติด ปีงบประมาณ 2556 ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดหนองคาย.

ไชยฤทธิ์ เสนาะวาที. (2555). ยาบ้าทะลักอีสานเหนือ. สืบค้นจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=788399

มนตรี สิงห์โตทอง. (2554). ประสิทธิผลการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

ไปปฏิบัติในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 1. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 116

วชิรศักดิ์ ศรีประสม. (2549). ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติตามมาตรการในโครงการพัฒนาความรู้

ด้านการปราบปรามยาเสพติดโดยใช้คอมพิวเตอร์: กรณีศึกษาสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมจิต แดนสีแก้ว. (2548). การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดแก่สังคม.

วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานอำนวยการร่วม ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด. (2555). สรุปผลการดำเนินงาน

ตามแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด พ.ศ. 2555 ไตรมาสที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด.

Alexander, E.R. (1985). From Idea to Action: Note for a Contingency Theory of the

Policy Implementation Process. Administration and Society. 16(12): 403.

Browen., & et al. (1995). Drug and the Adolescent High School Student: A Three Year Survey Study. Dissertation Abstracts International. 14(1): 6748.

Dye, Thomas R. (1995). Understanding public Policy. 8th ed. Englewood Cliffs,

New Jersey: Prentice – Hall, Inc.

Mulhall, H.C. (1995). A Study of tenth Grade Student Attitudes Toward and

DrugKnowledge of drug Abuse When Related to a Drug Education Program. Dissertation Abstracts International. 38(1): 2583-A.

Yamane, T. (1974). Statistic and Introductory Analysis. 2nd ed.

New York: Harper & Row.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง