สื่อทางการตลาดที่นำไปสู่ความภักดีในตราสินค้าของผู้เข้าชม การแข่งขันฟุตบอล AIS ลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

องอาจ ก่อสินค้า

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสื่อทางการตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีในตราสินค้าของผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอล AIS ลีก ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ศึกษาถึงตัวแปร 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านการรับรู้การสื่อสารทางการตลาด และความภักดีในตราสินค้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เข้าชมฟุตบอล AIS ลีก ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยการทดสอบค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-0 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท และประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย และข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

2. ด้านการรับรู้การสื่อสารทางการตลาด พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการโฆษณา และด้านการตลาดทางตรง
3. ปัจจัยด้านความภักดีในตราสินค้า พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ด้านความภักดีในตราสินค้า และด้านทัศนคติ
ต่อตราสินค้า
4. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ด้านการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดมีความสัมพันธ์
กับปัจจัยด้านความภักดีในตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Keywords


สื่อทางการตลาด; ความภักดีในตราสินค้า

Full Text:

PDF

References


กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติพงศ์ กุลโศภิน. (2555). กลยุทธ์การตลาดตราสินค้าสำหรับกีฬาฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอล อาชีพไทยพรีเมียร์ลีก.ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยสยาม.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2548). กลยุทธ์สื่อสารการตลาด = IMC & Marketing Communication. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: Brand Age books.

มาลินี มาลีคล้าย. (2554). การรับรู้การสื่อสารการตลาดของผู้บริโภคที่มีผลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า อิชิตันในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.

วุฒิพร ลูกบัว. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อองค์กรกับความภักดีต่อตราสินค้า ของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. (2547). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: เอกพันธ์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง