แนวทางป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพฤติกรรมการรับรู้ของนักศึกษาแผนกช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช

อรรณพ ทองมา

Abstract


การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)  ศึกษาสภาพอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพฤติกรรมการรับรู้ของนักศึกษาแผนกช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช                       2)  ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแนวทางป้องกันอันตราย จากสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพฤติกรรมการรับรู้ของนักศึกษาแผนกช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช 3)  เปรียบเทียบสภาพอันตรายก่อนและหลังตามพฤติกรรมการรับรู้ของนักศึกษาแผนกช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาแผนกช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช จำนวน 61 คน และผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสัมภาษณ์ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามสภาพอันตรายในการทำงานตามพฤติกรรมการรับรู้ของนักศึกษาแผนกช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และการทดสอบที

จากการวิจัยพบว่า อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางเคมี อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก เมื่อได้เก็บข้อมูลหลังจากการใช้แนวทางป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่า อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางเคมี อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด และทดสอบสมมุติฐานของการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างก่อนและหลังการใช้แนวทางป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


Keywords


แนวทางป้องกันอันตราย, สภาพแวดล้อมการทำงาน, พฤติกรรมการรับรู้

Full Text:

Untitled

References


ขวัญหทัย ยิ้มละมัย และรัตนวดี ทองบัวบาน. (2556). อาชีวอนามัยเบื้องต้น. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด.

จิราพร พรหมภักดี. (2551). สภาพการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล. (2532). ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เมฆาเพรส.

ธานินทร์ ภูนฤมิต. (2551). สภาพและแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุในโรงฝึกงานช่างอุตสาหกรรมของวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

นิพนธ์ กินาวงศ์. (2543). หลักการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: ตระกูลไทย.

พิชิต เพ็งสุวรรณ. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถาบันอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

รัชนี ธรรมสโรช. (2551). การรับรู้การบริหารความปลอดภัยและพฤติกรรมด้านความปลอดภัย ในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท ประมวลผล จำกัด. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป) บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วันเฉลิม พลอินทร์. (2549). การสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานขององค์การ พฤติกรรมความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานบริษัทปูนซิเมนต์ไทยทุ่งสง จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชามนุษยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช. (2557). ข้อมูลวิทยาลัย. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 25,2559, จาก http://www.nasic.ac.th/index.php/nasic-profile.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). สถานศึกษาในสังกัด สอศ. ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 26, 2559, จาก http://www.vec.go.th/Default. aspx?tabid=135.

เอกภาพ สายโสภา. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของช่าง กรณีศึกษา: กรมอู่ทหารเรือ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง