ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเช่าพื้นที่ร้านค้า และความพึงพอใจของ ผู้เช่าพื้นที่ กรณีศึกษา ตลาดนัดจตุจักร บริหารโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 5 ข้อ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาลักษณะของปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจเช่าพื้นที่ร้านค้า และความพึงพอใจของผู้เช่าพื้นที่ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกเช่าพื้นที่ร้านค้าที่แตกต่างกัน 3. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจของผู้เช่าพื้นที่ร้านค้าที่แตกต่างกัน 4.เพื่อศึกษาว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเช่าพื้นที่ร้านค้า และ5.ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจของผู้เช่าพื้นที่ กรณีศึกษาตลาดนัดจตุจักรบริหารโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (1) เป็นเพศหญิง อายุ 30 ปีขึ้นไป-40 ปี สถานภาพสมรส อาชีพธุรกิจส่วนตัว ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 20,001-30,000 บาท มีภูมิลำเนากรุงเทพมหานคร (2) ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภาพรวมในระดับมาก (3) การตัดสินใจเช่าพื้นที่ร้านค้า ส่วนใหญ่เช่าพื้นที่ร้านค้าเพื่อเป็นอาชีพเสริม/งานอดิเรก ความถี่ของการใช้ประโยชน์พื้นที่เช่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ การดำเนินการเช่า และการจำหน่ายสินค้าเป็นการเช่าช่วง และจำหน่ายสินค้าด้วยตนเองในรูปแบบครอบครัว/ญาติพี่น้อง ปัจจุบันจะจำหน่ายเสื้อผ้าเป็นสินค้าหลักโดยระยะเวลาเช่าพื้นที่ร้านค้าประมาณ 5 ปีขึ้นไป - 10 ปี ซึ่งจะรู้จักสถานที่เช่าได้จากเพื่อน/คนรู้จัก (4) กลุ่มตัวอย่าง มีเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ย ภูมิลำเนาที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกเช่าพื้นที่ร้านค้าตลาดนัดจตุจักรที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเช่าร้านค้าของผู้เช่าพื้นที่ร้านค้าตลาดนัดจตุจักรในด้านความถี่ในการไปใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (6) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเช่าร้านค้าพื้นที่ร้านค้าตลาดนัดจตุจักรในด้านระยะเวลาการเช่าพื้นที่ร้านค้าจนถึงปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (7) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่ และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดสามารถพยากรณ์ความพึงพอใจของผู้เช่าพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 


Keywords


ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจเช่าพื้นที่, ความพึงพอใจของผู้เช่าพื้นที่ ตลาดนัดจตุจักร

Full Text:

Untitled

References


กวิน วงศ์ลีดี และศิริเพ็ญ เยี่ยมจรรยา. (2555).ปัจจัยด้านการตลาดและปัจจัยด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว

ชาวต่างชาติที่ตลาดนัดสวนจตุจักร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เจษฎา อธิพงศ์วณิช. (2556). พฤติกรรมในการตัดสินใจใช้บริการเช่าอพาร์ตเมนต์ของนักศึกษา

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เฉลิมพร คงสินธ์. (2547). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดร้านโชวห่วย: กรณีศึกษาผู้ประกอบการ ร้านโชวห่วย

เขตดอนเมือง . มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร/กรุงเทพฯ.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธงชัย สันติวงษ์. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาจำกัด.

อุรุยา สุขวิบูลย์. (2549). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าอพาร์ทเมนท์ของผู้บริโภคใน

เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2550). จิตวิยาบริการ. กรุงเทพมหานคร: อดุลพัฒนกิจ.

Bolen William. (1988). ทฤษฎีส่วนประสมการตลาด.. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2560, จาก

http://www.callcentermaster.com/What-is-CallCenter/What-is-CRM.html

Kotler, Philip. (1997). Marketing Management, 9th ed.,Analysis, Planning, Implementation and Control.

Prentice Hall International.

Kotler, Philip. (2003). Marketing Management, 12 th ed., Pearson Education Asia: Singapore.

Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง