แนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ ในการจัดการศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ในการจัดการศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงานของอาจารย์ และเสนอแนวทางสร้างวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ในการจัดการศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์จากคณะครุศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และวิทยาลัยการฝึกหัดครู จำนวน 175 คน เก็บรวบรวมข้อมูลได้ 156 คน คิดเป็นร้อยละ 89.14 และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตาฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบค่าเอฟ และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ในการจัดการศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร เป็นรายด้านและรวมทุกด้าน พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านมิติมุ่งความสำเร็จ ด้านมิติมุ่งบุคคล ด้านมิติมุ่งสัจการแห่งตน และด้านมิติมุ่งไมตรีสัมพันธ์ 2) เปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ในการจัดการศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงานโดยภาพรวมและทั้งสี่ด้านไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางสร้างวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ในการจัดการศึกษาครุศาสตร์ พบว่า เริ่มจากการวิเคราะห์และประเมินวัฒนธรรมองค์การ กำหนดความเชื่อ ค่านิยม แนวปฏิบัติ และแบบแผนการประพฤติ จัดทำแผนในการสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ตรวจสอบดำเนินงาน และปรับปรุงแก้ไขแนวทาง การดำเนินงาน พัฒนาวัฒนธรรมองค์การ
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กรรณิการ์ โพธิ์ลังกา. (2557). การศึกษาลักษณะส่วนบุคคล วัฒนธรรมองค์กรลักษณะสร้างสรรค์ และสภาพแวดล้อมในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในย่านธุรกิจอโศก. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
คนึงภรณ์ วงเวียน. (2554). การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยงเชิงนิเทศอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ยุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ณัชชา คงศรี. (2555). การบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 14(1), 89-99.
ดิเรก พรสีมา. (2560, มิถุนายน 8). ครูไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 8, 2560, จาก http://www.moc.go.th/moc/th/news/detail.php.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
วิจารณ์ พานิช. (2550). ผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน, สำนักงาน. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัตน์การเรียนรู้ – สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” (6-8 พฤษภาคม 2557). กรุงเทพฯ: มาตาการพิมพ์.
สมหมาย ปวะบุตร. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพัฒนาความเป็นครูวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุวณี อึ่งวรากร. (2558). “ครู : อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่คุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21”. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยและพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(1), 65-78.
เอกชัย กี่สุขพันธ์ และคณะ. (2553). การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Danison, D.R. (1990). Corporate Culture and Organizational Effectiveness. New York: John Wiley & Sons.
Greenberg, Jerald & Baron, Robert A. (2003). Behavior in Organization Understanding and Managing the Human Side of work. (8 th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: prentice Hall.
Schein, E.H. (1992). Organizational culture and leadership (2 nd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง