ผลการทดลองใช้ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) เพื่อพัฒนาคุณภาพและยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียน

พัชราภา ตันติชูเวช

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อทดลองรูปแบบการบริหารจัดการ กระบวนการและกลยุทธ์การดำเนินงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้พัฒนาขึ้นในระดับสถานศึกษา ผู้วิจัยทดลองกับสถานศึกษานำร่องระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมจำนวน 11 แห่งจากในอำเภอเมืองตากและอำเภอแม่สอด ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล 6 วิธี คือ 1) การสังเคราะห์เอกสาร 2) การประชุมสนทนากลุ่ม 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความเห็นและจัดทำเกณฑ์การทดลอง 4) การประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียน 5) การศึกษาภาคสนามโดยการนิเทศ ติดตามในสถานศึกษา และ 6) การสื่อสารทางเทคโนโลยี เช่น ไลน์ โทรศัพท์

ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นแบ่งเป็นผลที่เกิดกับสถานศึกษาและผลที่เกิดกับผู้เรียน โดยผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา อาทิ การสร้างเครือข่ายและบันทึกข้อตกลงระหว่างสถานศึกษาในการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เทียบโอน ผลที่เกิดขึ้น กับผู้เรียน อาทิ ผู้เรียนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น


Keywords


ระบบการสะสมหน่วย , การเรียนรู้ ,การศึกษาขั้นพื้นฐาน , คุณภาพการศึกษา

Full Text:

Untitled

References


พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารการประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย (6-8พฤษภาคม 2557) (หน้า 6-20). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). แนวทางการศึกษาระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง