การพัฒนาตัวแบบสำหรับพยากรณ์อัตราผลผลตอบแทนและวิเคราะห์ความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาตัวแบบสำหรับใช้พยากรณ์อัตราผลตอบแทนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยตัวแบบที่พัฒนาจะเป็นตัวแบบเชิงพหุ (multi-factor model) ซึ่งผลการวิจัยพบว่าตัวแบบเชิงพหุที่ประกอบด้วยตัวแปรที่จำนวน 4 ตัวแปรเป็นตัวแบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตัวแบบ CAPM และตัวแบบเชิงพหุรูปแบบอื่น โดยตัวแบบเชิงพหุที่ประกอบด้วยตัวแปรที่จำนวน 4 ตัวแปรประกอบด้วยตัวแปรที่เกี่ยวข้องคือความเสี่ยงจากตลาด, ความเสี่ยงจากขนาด, ความเสี่ยงจากมูลค่า และความเสี่ยงจากโมเมนตัม
เมื่อนำความเสี่ยงทั้ง 4 มาวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน (fundamental data) ของหุ้นสามัญ พบความสัมพันธ์ข้อมูลพื้นฐานกับความเสี่ยงต่าง ๆ มีความหลากหลายมาก แต่จากผลการวิจัยเชิงประจักษ์พบว่าขนาดของสินทรัพย์มีขนาดความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเสี่ยงจากตลาด และเป็นขนาดความสัมพันธ์ที่มีขนาดสูงที่สุดเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์จากปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ ร่วมด้วย ในขณะเดียวกันขนาดของสินทรัพย์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเสี่ยงจากขนาด ในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานกลุ่มอื่น ๆ เช่น ความสามารถในการทำกำไร, การจ่ายปันผล,โครงสร้างเงินทุน,มูลค่าของหุ้นสามัญ รวมไปถึงการเติบโตล้วนส่งผลต่อความเสี่ยงทั้ง 4 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญ
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
อดิศร อ้าย. (2559). การพัฒนาตัวแบบสำหรับวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต การเงิน, มหาวิทยาลัยศรีประทุม.
Carhart, M. M. (1997). “On Persistence in Mutual Fund Performance.” The Journal of Finance. 52, 57–82.
Cakici N., Fabozzi, F. J. & Tan S. (2013). Size, value, and momentum in emerging market stock returns. Emerging Markets Review. 16(3), 46–65.
Fama, E.F. & French, K.R. (1992). “The Cross Section of Expected Stock Returns.” Journal of Finance. 47(2), 427-465.
Fama, E.F. & French, K.R. (1993). “Common Risk Factors in the Returns on Stocks and Bonds.” Journal of Financial Economics. 33, 3-56.
Gujarati, N. D. & Porter C.D. (2010). Basic Econometrics. (5 th ed.). McGraw-Hill.
Humphrey E.J. & O'Brien, A. M. (2010). Persistence and the four-factor model in the Australian funds market: a note. Accounting and Finance. 50, 103-109.
Lintner, J. (1965). “The Valuation of Risk Assets and the Selection of Risky Investment in Stock Portfolios and Capital Budgets.” The Review of Economics and Statistics. 47(1), 13-37.
Sharpe, W. F. (1964). “Capital Asset Prices: A Theory of Market Equilibrium under Conditionsof Risk.” The Journal of Finance. 19(3), 425-442.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง