การประเมินความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดหนองคาย

สุพรรณี ทิพวงกุล

Abstract


     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดหนองคายที่มีต่อความสามารถในการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดหนองคาย ผู้วิจัยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดหนองคาย จำนวน 181 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ  t-test  และทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว 

     ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดหนองคาย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 – 40 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากกว่า 6 ปี 2) การประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลลัพธ์ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบตามลำดับ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะความต้องการของส่วนกลางที่ต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามโครงการ เป็นอันดับแรก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการเพียงใด ด้านปัจจัยนำเข้า การจัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรเกี่ยวกับระบบบันทึกบัญชีคอมพิวเตอร์มีความเหมาะสมเพียงใด เป็นอันดับแรก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ มีความเหมาะสมเพียงใด ด้านกระบวนการ ผู้บังคับบัญชามีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของโครงการ สามารถแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง และให้คำปรึกษาได้ พร้อมทั้งกระตุ้นเตือน และมีการกำกับการทำงาน อย่างใกล้ชิดเป็นอันดับแรก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือหน่วยงานมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบและเห็นถึงความสำคัญ ด้านผลผลิต มีการบันทึกข้อมูลเป็นประจำทุกวันที่เกิดรายการ เป็นอันดับแรก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือระดับการรับรู้ข้อมูลในส่วนของทะเบียนคุมครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ด้านผลลัพธ์ระยะเวลาในการรายงานข้อมูลจากการใช้งานระบบตามโครงการมีความรวดเร็ว คล่องตัวกว่าระบบบันทึกบัญชีแบบเดิมเป็นอันดับแรก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือโครงการนี้ช่วยให้การตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายนอก เช่นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือองค์กรอิสระ สามารถตรวจสอบได้รวดเร็วขึ้น  ด้านผลกระทบ หลังจากรับโครงการนี้มาดำเนินการ โครงการเป็นภาระสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานประจำ ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานตามโครงการเป็นอันดับแรก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือการดำเนินการตามโครงการนี้ทำให้การรายงานข้อมูลล่าช้ากว่าแบบเดิม 3) การเปรียบเทียบการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่มีเพศแตกต่างกัน มีผลต่อการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่มีอายุแตกต่างกัน  มีผลต่อการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่มีอายุแตกต่างกัน  มีผลต่อการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายด้านแตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านผลกระทบ บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีผลต่อการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีผลต่อการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงาน รายด้านแตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม  และด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน  มีผลต่อการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน  แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีผลต่อการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงาน รายด้านแตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านผลลัพธ์  และด้านผลกระทบ




Keywords


ประเมินความสามารถ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Full Text:

Untitled

References


บุญชม ศรีสะอาด. (2549). การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รุ่งเรืองรอง สืบมงคลชัย. (2545). การพัฒนาระบบการบริหารสินค้าคงคลัง ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทโรงงาน : กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตั้งหยูฮึ้ง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณา เจริญนาน. (2556). ความพร้อมในการบริหารงานคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS)ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดจันทบุรี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง