พฤติกรรมการบริโภคอาหารหม้อไฟเกาหลีในเขตพื้นที่สยามสแควร์
Abstract
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้บริโภค ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (2) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารหม้อไฟเกาหลีในเขตพื้นที่สยามสแควร์ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารหม้อไฟเกาหลีในเขตพื้นที่สยามสแควร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ใช้บริการร้านอาหารหม้อไฟเกาหลีในเขตพื้นที่สยามสแควร์ จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ทดสอบความสัมพันธ์จากค่า Chi-Square Test และวัดความสัมพันธ์โดยค่าสถิติ Contingency Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 20-30 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากสุด 15,000 – 20,000 บาท 2. ความสำคัญด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารหม้อไฟเกาหลี อยู่ในระดับมาก 3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารหม้อไฟเกาหลี โดยด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับด้านค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารหม้อไฟเกาหลีในเขตพื้นที่สยามสแควร์ 4. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารหม้อไฟเกาหลีในเขตพื้นที่สยามสแควร์ โดยมีความสัมพันธ์สูงสุด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอาหารหม้อไฟเกาหลี โดยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านบุคลากร ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารหม้อไฟเกาหลีในเขตพื้นที่สยามสแควร์
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. (2547). การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บิซซิเนสอาร์แอนด์ดี.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง