การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล

วิจิตรา ตะโกพร

Abstract


     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล (2) เปรียบเทียบความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล (3) ศึกษาระดับความสร้างสรรค์ตามขั้นตอนของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล และ (4)ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนราชินีบูรณะจังหวัดนครปฐม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบทดสอบความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ซึ่งผ่านการทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช (Cronbach, Alpha coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.80  แบบประเมินความสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น

    ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 11.5 สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent) ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอน มีชื่อว่า “RNS Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ค้นหาความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 พัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ขั้นที่ 3 ประเมินผลการเรียนรู้ (4) การวัดและประเมินผล และ (5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนเท่ากับ 84.16/80.22  และเมื่อนำรูปแบบการสอนไปขยายผลพบว่านักเรียนมีความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ หลังการใช้รูปแบบการสอน สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) ความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ หลังการใช้รูปแบบการสอนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสร้างสรรค์ของนักเรียนอยู่ในระดับสูง 4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสอนด้วยการใช้รูปแบบการสอน อยู่ในระดับมาก

Keywords


รูปแบบการสอน, ความสร้างสรรค์

Full Text:

Untitled

References


ปฤณัต นัจนฤตย์. (2554). “การพัฒนาหลักสูตรการออกแบบตกแต่งอาหารเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรธุรกิจอาหาร”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2(2), 135-147.

ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2548). การจัดการความรู้ Knowledge Management จากหลักคิดสู่การปฏิบัติจริง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ใยไหม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2552). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พิจิตรา ทีสุกะ. (2558). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน วิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 7(1), 135-147.

รุจิราพร รามศิริ. (2558). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัย ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 7(1), 110-122.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุเทพ อ่วมเจริญ, ประเสริฐ มงคล และวัชรา เล่าเรียนดี. (2555). รายงานการวิจัยการพัฒนาการสอน วิชา “การพัฒนาหลักสูตร” สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., & Bloom, B. S. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom's taxonomy of educational objectives. New York: Allyn & Bacon.

Biggs, J.B. & Collis, K. (1982). Evaluating the Quality of Learning: The SOLO Taxonomy. New York: Academic Press.

Biggs, J.B. (2003). Teaching for quality learning at university. (2 nd ed.) Maidenhead: Open University Press.

Osborn, A. F. (1963). Applied Imagination. (3 rd ed.) New York: Scribner’s.

Parnes, S.J. (1992). Guide to Creative Action. New York, Charles Scribner’s Sons. Cited in Davis, G.A. 1983. Creativity is Forever. United State of America: Kendal/Hunt Publishing Company.

Runco. (2007). “High Ability Studies. EC 105”, California State University, PO Box 6868, Fullerton, CA 92834, USA. Vol. 18, No. 1, June 2007, pp. 75–77.

Tracey E. Hall, Anne Meyer, & David H. Rose. (2012). Universal Design for Learning in the Classroom. New York: The Guilford Press.

Wilson, B. G. (1996). Constructivist learning environments: Case studies in instructional design. Englewood Cliffs, NJ: Educational Technology Publication.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง