การเปิดรับสื่อและการรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จังหวัดชุมพร

วิจารณ์ ซุ่ยกลั่น

Abstract


      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จังหวัดชุมพร 2) การรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จังหวัดชุมพร และ 3) เปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จังหวัดชุมพร ที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จังหวัดชุมพร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการพรรณนาวิเคราะห์

     ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรในการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุมีอายุ 40-59 ปี ระดับการศึกษา จบชั้นประถมศึกษา และรายได้ 5,000-10,000 บาท ต่อเดือน การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีการเปิดรับสื่อที่บ้านในเวลากลางวัน โดยเปิดรับสื่อจากโทรทัศน์มากที่สุด และความถี่ในการเปิดรับสื่อมากที่สุดคือ เปิดรับเป็นประจำ 2) การรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิก พบว่ามีการรับรู้ มากที่สุด ด้านการดำรงชีวิตที่พึ่งพาตนเองได้ ขยัน อดทน ในด้านการรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มนำความคิดเห็นนั้น พบว่า มีการรับรู้ด้านการรู้จักความพอดี พอประมาณ ไม่โลภ กินอยู่อย่างประหยัด เหมาะสมกับฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือย มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าพอเพียง มีการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล รอบคอบ พึ่งพาตนเองได้ ขยัน อดทน มีการกินดีอยู่ดี มีการเก็บออมไว้ใช้ในอนาคต รักษาสุขภาพในบั้นปลายชีวิต ความมีภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การรู้จักเก็บออม มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และมีความสามัคคี 3) ลักษณะทางประชากรของสมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จังหวัดชุมพร ที่ต่างกัน ทำให้มีการรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05


Keywords


การเปิดรับสื่อ, การรับรู้, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Full Text:

Untitled

References


กันตยา มานะกุล. (2550). พัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านจอมจันทร์ หมู่ 2 ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

กานดา เต๊ะขันหมาก. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือน: ศึกษากรณีจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2540). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

ฐิติมา ปาลคะเชนทร์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการ Veridian E-Journal. 6(1), 661 – 680.

ธนพล สมัครการ. (2550). ความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลังเข้าร่วมโครงการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ : ศึกษากรณีผู้เข้าอบรมพลังกายทิพย์เพื่อสุขภาพ กรมขนส่งทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทางอากาศ. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นพพร เมธีอนันต์กุล. (2549). การนำปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต : กรณีศึกษาเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

นันทิยา ดอกประโคน. (2551). เศรษฐกิจหมู่บ้านแบบพอเพียงกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้กับหมู่บ้านของอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วารุณี ศรีชัย. (2555). ปัจจัยที่ก่อให้เกิดหนี้สินเกษตรกร ตำบลน้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน. ส่วนหนึ่งของวิชา 751409 (แบบฝึกหัดการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศศิวิมล ตามไทย. (2542). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคข้าวกล้องของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์พัฒนาการ, ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2548). การวิจัยการตลาดฉบับมาตรฐาน = Marketing research. กรุงเทพฯ:ไดมอน อิน บิสสิเน็ต เวิร์ล.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549).

http://theWikipedia.org.wiki ค้นคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2556

www.chaipat.or.th ค้นคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2556


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง