ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดอุดรธานี

วาทินี เศรษฐสังข์

Abstract


     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับตำแหน่ง ระดับเงินเดือน ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 226  คน ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ t-test และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

      ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงบประมาณของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ การวางแผน การคำนวณต้นทุนของกิจกรรมและผลผลิต  การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารทางเงิน/การควบคุมงบประมาณ การรายงานทางเงินและผลการดำเนินงาน การบริหารสินทรัพย์ การตรวจสอบภายใน พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านแล้วมีความคิดเห็นในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง รองลงมา การรายงานทางเงินและผลการดำเนินงาน  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การบริหารสินทรัพย์ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณงาน  ด้านเวลา ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณด้านปริมาณงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณภาพของงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านเวลาและด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เมื่อทดสอบสมมติฐาน ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  พบว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี  ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีผลให้ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณโดยภาพรวมแตกต่างกัน


Keywords


ประสิทธิภาพ, การบริหารงบประมาณ

Full Text:

Untitled

References


เจริญผล สุวรรณโชติ. (2544). ทฤษฎีการบริหาร. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

จันทณาภรณ์ อ่อนโพธา. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณรงค์ ศิริพรชัยกุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ไพศาล จันทวารา. (2550). บทบาทและแนวทางการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ. ภาคนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สถิต คําลาเลียง. (2544). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของชางอากาศ: ศึกษาเฉพาะกรณีกองการ ปืนทหารเรือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต รัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

วรจิตร หนองแก. (2540). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สังคมวิทยาการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณา จิตตรีพรต. (2554). ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การปกครองท้องถิ่น,วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุดธิดา แก้วปลั่ง. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโทรศัพท์จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Krejcie, Robert V. & Daryle W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activies. Journal of Education and Psychological measurement. Retrieved April 21, 2015, from http://www.dla.go.th/.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง