การศึกษาความแตกต่างลักษณะส่วนบุคลและความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังกับการได้รับการบริการที่มีต่อความความพึงพอใจ ในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ

Abstract


     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างลักษณะส่วนบุคลของผู้สูงอายุที่มีต่อความความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังกับการได้รับการบริการในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาความคาดหวังและการได้รับการบริการที่มีผลต่อความความพึงพอใจในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเก็บรวบรวมจากผู้สูงอายุที่มาใช้บริการสวนสาธารณะ 2 แห่ง ได้แก่ สวนสาธารณะลุมพินี และสวนสาธารณะจตุจักร กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากตารางของ ทาโร่ ยามาเน่  ประชากรไม่จำกัดจำนวนและความคลาดเคลื่อนที่ระดับ ± 5 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เพื่อทำการศึกษาในครั้งนี้ สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมานที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การเปรียบเทียบค่า เฉลี่ยที แบบอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ

     ผลการศึกษา พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาและบุคคลที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันมีผลต่อความความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน ความคาดหวังกับการได้รับการบริการในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านความคาดหวัง และ ปัจจัยด้านการได้รับการบริการ มีผลต่อความความพึงพอใจในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Keywords


ความคาดหวังและการได้รับการบริการ, ความความพึงพอใจ, นักท่องเที่ยวสูงอายุ

Full Text:

Untitled

References


กรมกิจการผู้สูงอายุ. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ กันยายน 1, 2559, จาก http://moc.ocsc.go.th/moc/

sites/default/files/04_1_krm_khmuul_krmkicchkaarphuusuungaayu59.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 – 2560. สืบค้นเมื่อ กันยายน 7, 2559, จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114.

กวิน วงศ์ลีดี. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ กันยายน 1, 2559,จาก http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/

ssruir/552/1/147-54.pdf.

จันทร์จิตร เธียรสิริ, ฉันทวัต วันดี, สุรีย์ บุญญานุพงศ์ และกรวรรณ สังขกร. (2555). การประเมินศักยภาพการตลาดท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่งสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนบน วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 6(1), 49-62.

ชลดรงค์ ทองสง. (2558). แนวคิดการพัฒนา Slow Tourism ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 12(2), 1-12.

ปิยวรรณ ปนิทานเต. (2559). เมื่อความชรา กำลังจะมาเยือน..โลก. วารสารเทคโนโลยีวัสดุ, 80, 28-31.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2556). ผู้สูงอายุ (Older person). สืบค้นเมื่อ กันยายน 15, 2559, จาก http://haamor.com/.

ภัทรพร พิทักษ์ธรรม และอนุภาค เสาร์เสาวภาคย์. (2558). โครงการศึกษาการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการในภาคขนส่งสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ กันยายน 1, 2559, จาก http://www.otptransportforall.com/udsdfiles/docs/รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์.pdf.

วัชรินทร์ เสมามอญ. (2556). การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ในจังหวัดพระนครศรี อยุธยาและจังหวัดอ่างทอง. สืบค้นเมื่อ กันยายน 10, 2559, จาก http://rdi.aru.ac.th/e_journal/pdf/158.pdf.

วาระแห่งชาติรับมือ "สังคมผู้สูงอายุ" ส่งเสริมการออม...เพิ่มผลิตภาพแรงงาน. (2556). ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ กันยายน 12, 2559, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid =1376552357.

สมประวิณ มันประเสริฐ, ฐานิดา อารยเวชกิจ และจารีย์ ปิ่นทอง. (2559). เศรษฐกิจไทยในสังคมชราภาพ: บริบทใหม่ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเหลือมล้ำทางรายได้. สืบค้นเมื่อ กันยายน 1, 2559,จาก https://www.pier.or.th/wp-content/uploads/2016/04/aBRIDGEd_2016_009.pdf.

สมยศ วัฒนากมลชัย และเยาวลักษณ์ ยิ้มอ่อน. (2553). นักท่องเที่ยวสูงอายุ: กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว. วารวิชาการปัญญาภิวัฒน์, 2(1), 95-103.

สุรชาติ สินวรณ์. (2558). แนวทางการออกแบบส


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง